ตัวแปรที่ส่งผลต่อโอกาสในการตอบข้อสอบถูก

Variables affecting on the probability of answering the item correctly

Authors

  • กระพัน ศรีงาน

Keywords:

ตัวแปรที่ส่งผล , โอกาสในการตอบข้อสอบถูก, Variables Affecting, The Probability of answering the item correctly

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาเครื่องมือวัด ดังนี้ ระดับนักเรียน ได้แก่ แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบวัดคุณลักษณะของนักเรียน แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ และแบบวัดความเครียด ระดับโรงเรียน ได้แก่ แบบวัดภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารแบบวัดประสิทธิภาพการบริหารของผู้บริหาร แบบวัดประสิทธิภาพการสอนของครู และแบบวัดบรรยากาศในชั้นเรียน 2) วิเคราะห์ผลของตัวแปรคุณลักษณะระดับผู้เรียน และตัวแปรคุณลักษณะระดับโรงเรียนต่อโอกาสในการตอบข้อสอบได้ถูกต้องโดยใช้โมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่น (HGL) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ จำนวน 2,103 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน (Two-Stage Random Sampling) เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 2) แบบวัดคุณลักษณะของนักเรียน 3) แบบวัดเจตคติ 4) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบวัดความเครียด 6) แบบวัดภาวะความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร 7) แบบวัดประสิทธิภาพการสอนของครู 8) แบบวัดประสิทธิภาพการบริหารของผู้บริหาร 9) แบบวัดบรรยากาศในห้องเรียน ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดโดยตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง (Second Order Confirmatory Factory Analysis) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองโมเดลองค์ประกอบแฝง (Nested Factor Model) และตรวจสอบความเชื่อมั่น (Reliability) ด้วยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง (G-Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบวัดเจตคติ แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความเครียด แบบวัดภาวะความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร แบบวัดประสิทธิภาพการสอนของครู แบบวัดประสิทธิภาพการบริหารของผู้บริหาร แบบสอบถามวัดบรรยากาศในชั้นเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82, 0.92, 0.91, 0.87, 0.89, 0.84, 0.89 และ 0.90 ตามลำดับ 2. ผลการวิเคราะห์ตัวแปรที่ส่งผลต่อโอกาสในการตอบข้อสอบถูก พบว่า ตัวแปรขนาดของโรงเรียน (SIZE) ส่งผลต่อโอกาสการตอบข้อสอบถูกของนักเรียนในแต่ละโรงเรียน แตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่า t = 3.29 หากพิจารณาในส่วนของค่าความชันที่มีความผันแปรจากการวิเคราะห์ในระดับที่ 2 โดยใช้ ตัวแปรทำนายในระดับโรงเรียนอธิบายความผันแปร พบว่า ค่าจุดตัดแกนของความชัน ค่าความชันของผลสัมฤทธิ์เดิม (GRAD) มีความผันแปรภายในระดับนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรขนาดโรงเรียน (SIZE) สามารถทำนายความผันแปรของค่าสัมประสิทธิ์ความชันของผลสัมฤทธิ์เดิม (GRAD) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่า t = 4.77 ปรากฏดังสมการ 1 η ijm = 0.34 + 0.10SIZE* + 0.07MOTI** - 0.05STRE* + 0.13GRAD** ………. (1) + 0.07(GRAD)(SIZE)** + 0.09SPEC*  This purposes of this research were: 1) to create and develop the measuring instruments for students and schools, and 2) to analyze results of characteristics variables of learners level and school level towards the chance in answering the tests correctly through using Hierarchical Generalized Linear Model (HGLM). The instruments for the students included 1) mathematics achievement test, 2) students' characteristics instrument, 3) learning achievement motive instrument, 4) mathematics attitude instrument, and 5) stress instrument. The instruments for the school level include 1) the instrument for measuring the academic leadership of the administrators, 2) the instrument for measuring the management efficiency of the administrators, 3) the instrument for measuring the efficiency of teachers' teaching, and 4) the instrument for classroom atmosphere. The samples of the study were 2,103 Matthayomsuksa 3 (9 graders) students studying in schools under the Office of Buriram Educational Area, 2552 B.E. academic year. These samples were recruited by two-stage random sampling. The research instruments consisted of 1) mathematics achievement test, 2) the instrument for measuring students' characteristics, 3) the instrument for measuring students' attitudes, 4) the instrument for measuring students' learning achievement motive, 5) the instrument for measuring the stress, 6) the instrument for measuring the academic leadership of the administrators, 7) the instrument for measuring the efficiency of teachers' teaching, 8) the instrument for measuring the management efficiency of the administrators, and 9) the instrument for measuring classroom atmosphere. The instruments were quality examined by the Construct Validity, the Second Order Confirmatory Factory Analysis, Nested Factor M, and the reliability was examined by G-Coefficient.  The research findings were below.  1. The reliabilities of the above instruments were 0.82, 0.92, 0.91, 0.87, 0.89, 0.84, 0.89, and 0.90 respectively.  2. The results of analyzing the variables affecting the chances for answering the test correctly were the size of schools. The differences from zero were statistical significant at .05 level with t = 3.29. Examining the slope value altering from the level 2 analysis by using the school level prediction variables, the researcher found that the Slope of Intercept, the Slope of Prior Achievement (GRAD) were altered at the student level and it was statistical significant at 0.01 level. The school size variables can predict the alteration of the Slope of Prior Achievement (GRAD) significantly with .01 level and t = 4.77 as shown in the 1 equation below. η ijm = 0.34 + 0.10SIZE* + 0.07MOTI** - 0.05STRE* + 0.13GRAD** ………. (1) + 0.07(GRAD)(SIZE)** + 0.09SPEC*

Downloads

Published

2024-03-13