การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาเคมี 1 และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่ม และแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น

A STUDY OF MATHAYOMSUKSA IV STUDENTS' LEARNING ACHIEVEMENT AND ABILITY IN SCIENTIFIC PROBLEM SOLVING THROUGH THE TEAM – GAME TOURNAMENT AND LEARNING CYCLE (7E)

Authors

  • ขุนทอง คล้ายทอง

Keywords:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้, ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์, เทคนิคการแข่งขัน ระหว่างกลุ่มวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น, Learning Achievement, Ability in Scientific Problem Solving, The Team-Game Tournament, Learning Cycle

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาเคมี 1 และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค การแข่งขันระหว่างกลุ่มและแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 38 คน รวม 76 คน แล้วจับสลากเป็นกลุ่มทดลองกลุ่ม 1 ซึ่งได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่ม จำนวน 38 คน และกลุ่มทดลองกลุ่ม 2 ซึ่งได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น จำนวน 38 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองกลุ่มละ 20 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือ แบบ ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาเคมี 1 และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ใช้แบบแผนการวิจัย Nonrandomized Control Group Pretest - Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test  ผลการวิเคราะห์พบว่า  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาเคมี 1 ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่ม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาเคมี 1 ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  3. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่ม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  4. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร การเรียนรู้ 7 ขั้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาเคมี 1 ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มและการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาเคมี 1 ไม่แตกต่างกัน  6. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มและการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างกัน  The purpose of this study was to compare on Chemistry Learning Achievement and Ability in Scientific Problem Solving of mathayomsuksa IV students at Princess Chulabhorn's College Pathumthani, in the second semester of the 2010 academic year. They divided into experimental group I and experimental group II with 38 students in each. The experimental group I was taught through the team tournament and the experimental group II was taught through learning cycle (7E). It took 20 teaching periods for each group. The instruments used in this study were Achievement test and the ability in scientific problem solving test. The research design of this study was Nonrandomized Control Group Pretest - Posttest Design. The t-test was used for data analysis. The result of this study indicated that. 1. The learning achievement in chemistry 1 for students taught through the team - game tournament was significantly different at the .01 level.  2. The learning achievement in chemistry 1 for students taught through the learning cycle (7E) was significantly different at the .01 level.  3. The ability in scientific problem solving for students taught through the team - game tournament was significantly different at the .01 level.  4. The ability in scientific problem solving for students taught through the learning cycle (7E) was significantly different at the .01 level.  5. The learning achievement in chemistry 1 between the students taught through the team - game tournament and the learning cycle (7E) was not significantly different.  6. The ability in scientific problem solving between the students taught through the team - game tournament and the learning cycle (7E) was not significantly different.

Downloads

Published

2024-03-13