การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน ของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา

Development of Learning Process Organization Based on the Contemplative Education for Enhance the Transformative Learning of Early Childhood Pre-service Teachers: Case Study of Burapha University

Authors

  • ศิรประภา พฤทธิกุล

Keywords:

จิตตปัญญาศึกษา, การเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน, กระบวนการเรียนรู้ , การศึกษาปฐมวัย, Contemplative Education, Transformative Learning, Learning Process, Early Childhood, Pre-service Teachers

Abstract

การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนา กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาสำหรับนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และ 2) ศึกษาผลการ เรียนรู้ 2 ด้าน ได้แก่ ผลการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เข้าร่วมการวิจัย กำหนดขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ได้แก่ 1) การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ฯ 2) การนำกระบวนการจัดการเรียนรู้ฯ ไปใช้จริง และ 3) การนำเสนอผลการวิจัย ผู้เข้าร่วมการวิจัยคือนิสิตสาขาวิชาการ ศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชั้นปีที่ 3 และ ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 84 คน ผลการวิจัย มีดังนี้ 1. กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษามีโครงสร้าง ดังนี้ 1) ปรัชญาพื้นฐาน ได้แก่ ความ เชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์และกระบวนทัศน์องค์รวม 2) หลักการพื้นฐาน ได้แก่ การพิจารณาด้วยใจอย่างใคร่ครวญ การบูรณาการเชื่อมโยงการเรียนรู้ การส่งเสริมบรรยากาศแห่งกัลยาณมิตรและความมีอิสระผ่อนคลาย การสร้าง ความหมายของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานด้วยตนเอง และการส่งเสริมแบบแผนกิจกรรมที่มีจังหวะสม่ำเสมอ 3) วัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้นิสิตพัฒนาการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) เงื่อนไขของการจัดกระบวนการเรียนรู้ฯ 5) ลักษณะของกิจกรรม ประกอบด้วย การปฏิบัติผ่านความสงบนิ่ง การปฏิบัติ ผ่านการเคลื่อนไหว การปฏิบัติผ่านกระบวนการเชิงสร้างสรรค์ การปฏิบัติแบบนักกิจกรรม การปฏิบัติผ่านพิธีกรรม ตามประเพณี และการปฏิบัติผ่านความสัมพันธ์ 6) เนื้อหา ประกอบด้วย เนื้อหาตามรายวิชาและทักษะตามแนวจิตตปัญญาศึกษา 7) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม ได้แก่ การเตรียมพร้อมกายใจ การรับประสบการณ์ใหม่ และการใคร่ครวญ การเรียนรู้ 8) แนวทางการประเมินผล ได้แก่ การประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ฯ 9) แนวทางการนำไปใช้ และ 10) บทสรุป  2. ผลการเรียนรู้หลังเข้าร่วมกระบวนการจัดการเรียนรู้ฯ พบว่า 1) ผลการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานมี 2 ประการ ได้แก่ 1.1) การเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตนเอง พบว่า นิสิตได้เรียนรู้การมีสติกับปัจจุบันขณะ มีความเข้าใจตนเอง ยอมรับความเป็นจริงตามธรรมชาติ ได้เรียนรู้วิธีการที่หลากหลายในการพัฒนาตนเอง มีปัญญาในการน้อมสู่ใจอย่างใคร่ครวญ และพัฒนาการรับรู้รับฟังอย่างลึกซึ้ง 1.2) การเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานต่อจิตสำนึกส่วนรวม พบว่า นิสิตเกิดการพัฒนาด้านความเข้าใจ ความรัก และความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ มีการเปลี่ยน วิธีคิดมุมมอง และสัมพันธภาพต่อผู้อื่นในทางที่สร้างสรรค์ การมีชุมชนกัลยาณมิตรที่ช่วยทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนพื้นฐานของขอบข่ายรายวิชา และ 2) นิสิตมีค่าร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ทุกคน  The study design was a research and development using qualitative methods to collect data. The purposes were to 1) develop a learning process organization based on the contemplative education for early childhood pre-service teachers, and 2) study two kinds of learning outcomes: the transformative learning and the learning achievement of participants. The research procedure was divided into 3 phases which were 1) the development of learning process, 2) the field study of the process implementation, and 3) the conclusion of the research results. The research participants were 84 of junior and senior, early childhood pre-service teachers, faculty of education, Burapha University in academic year 2009.  The research findings were as follows:  1. The learning process organization based on the contemplative education consisted of 1) fundamental philosophies were humanistic value and holistic paradigm; 2) fundamental principles were contemplation, integral and connectedness, relaxation and good community of learning, self construct of transformation, and rhythm of activities; 3) purposes were to enhance the transformative learning and the learning achievement; 4) conditions of learning process organization; 5) characteristic of learning activities were stillness practices, movement practices, creation process practices, activist practices, ritual/cyclical practices, and relation practices; 6) contents consisted of each subjects content and contemplation skills; 7) the learning process consisted of three steps that were body and mind preparation, learning new experiences, and contemplating learning; 8) evaluation consisted of effective and efficiency of the learning process implementation; 9) guidelines for implementation; and 10) conclusion 2. The learning outcomes after implementing learning process were 1) the transformative learning of participations consisted of two categories: 1.1) the transformative learning towards themselves was mindfulness, understanding of themselves, acceptability of natural reality, learning about varied methods to develop themselves, contemplation, and developing deep listening; and 1.2) the transformative learning towards social public spirit was understanding and loving-kindness to humankind, creation good relationship, and realized community to share experiences and learning, and 2) the percentage of all participants' learning achievement were at the “passed” level within the indicated criterion score.

Downloads

Published

2024-03-13