การศึกษารูปแบบโครงสร้างองค์ประกอบเชิงสังคมในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบล

A Study of Structural Model of Solid Waste Management in Social Component of the Sub-District Administrative Organization

Authors

  • อุบล วุฒิพรโสภณ
  • สันทัด เสริมศรี
  • สุรพล พยอมแย้ม
  • ชวนชม ชินะตังกู
  • สยาม อรุณศรีมรกต

Keywords:

การจัดการขยะมูลฝอยเชิงสังคม , การศึกษา, ความตระหนัก , การมีส่วนร่วม , การจัดกิจกรรม, Solid Waste Management , Education, Recognize, Participation, Activity

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการค้นหารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะคือ ศึกษาองค์ประกอบการจัดการขยะมูลฝอยเชิงสังคมของอบต. และศึกษารูปแบบโครงสร้างองค์ประกอบเชิงสังคมในการจัดการขยะมูลฝอยของ อบต. วิธีการวิจัยเป็นการใช้แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบบสอบถามพัฒนาจากแนวคิด ทฤษฎี การวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวกับการจัดการขยะ ประชากรที่ใช้ศึกษาคือ องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1,466 แห่ง โดยมี ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 315 แห่ง และผู้ให้ข้อมูลคือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล  ผลการวิจัยครั้งนี้ ได้องค์ประกอบการจัดการขยะมูลฝอยเชิงสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลมีน้ำหนัก อยู่ระหว่าง 96-81 โดยเรียงตามน้ำหนักองค์ประกอบมากไปน้อย คือ การจัดกิจกรรม (196) การสร้างความ ตระหนัก (95) การให้ศึกษา (94) และการสร้างการมีส่วนร่วม (81) สำหรับรูปแบบโครงสร้างองค์ประกอบเชิงสังคม ในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ใช้สำหรับจัดการขยะมูลฝอยในเชิงป้องกัน ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก และองค์ประกอบรอง คือ การจัดกิจกรรม (การชักนำ-ส่งเสริม และการทำผลิตภัณฑ์จากขยะ) การสร้างความตระหนัก (การทำเป็นแบบอย่าง และสร้างความสำนึก) การให้ศึกษา (ให้ความรู้ และรับความรู้) และการสร้างการมีส่วนร่วม (ร่วมในกระบวนการ และร่วมโดยสมัครใจ)  This research to examine a model that suitable and efficiency for solid waste management of Sub-District Administrative Organization (SDAO). The purposes of this research were the following: 1) to find social component of solid waste management; and 2) to construct a structural model of solid waste management in social component of the SDAO. Research methodologies used for data collection were structured questionnaire. The questionnaire development was built from concept, theories, research and in-depth interview of experts in the field of waste management. The population was SDAO amount 1,466 and sample size was 315. The respondents of this research included president, vice president, and permanent secretary of SDAO.  The results of this research showed a social component of solid waste management has wage among .96 - .81 and in order of priority, including activity (.96), recognize (.95), education (.94) and participation (.81). A structural model of solid waste management in social component of the SDAO in term of preventive is activity (persuade-support, recycle), recognize (role model, increasing awareness), education (give knowledge, perception) and participation (participant, volunteer).

Downloads

Published

2024-03-13