การพัฒนาตัวบ่งชี้จรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
A Development of the Professional Code of Ethics Indicators of the School Administrators
Keywords:
จรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา, The Professional Code of Ethics of the School AdministratorsAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้จรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้จรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ของตัวบ่งชี้จรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อ 2 คือผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 962 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ข้อ 3 คือผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในทุกภูมิภาค จำนวน 72 คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความเหมาะสมของตัวบ่งชี้จรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา และแบบสอบถามความคิดเห็นเชิงประเมินจรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ลักษณะของข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณ ค่า 5 ระดับ แบบลิค-เอิร์ท วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และใช้โปรแกรม LISREL Version 8.72 ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยันอันดับที่สอง เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างเชิงเส้นจรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบหลักทั้ง 5 องค์ประกอบ คือ จรรยาบรรณต่อตนเอง จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และจรรยาบรรณต่อสังคม เป็นองค์ประกอบสำคัญของจรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา โดยองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ องค์ประกอบด้าน จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ (96) มี 19 ตัวบ่งชี้, องค์ประกอบด้านจรรยาบรรณต่อสังคม (190) มี 20 ตัวบ่งชี้, องค์ประกอบด้านจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ (.89) มี 21 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ (80) มี 25 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง (74) มี 23 ตัวบ่งชี้ ผลการทดสอบความเที่ยงตรงของโมเดลโครงสร้างเชิงเส้นตัวบ่งชี้จรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้ค่าไค-สแควร์ ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนและค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว พบว่าโมเดล มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญ ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ของตัวบ่งชี้จรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา โดยการทดสอบกับกลุ่มผู้รู้ชัด จำนวน 72 คน ได้ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.99 – 4.90 ซึ่งอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ซึ่งแสดงว่ามีความเที่ยงตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ The purposes of this research were 1) to develop the professional code of ethics indicators of the school administrators 2) to test the validity of the structural model of the professional code of ethics of the school administrators with the empirical data, and 3) to test the criterion-related validity of the professional code of ethics indicators of the school administrators. The samples as in the purpose No.2 were 962 school administrators working under the office of Basic Education Commission in the northeast of Thailand. They were chosen by the systematic sampling. The samples as in the purpose No.3 were 72 school administrators working under the office of Basic Education Commission in every region of Thailand. They were chosen by purposive sampling. The research instruments were Questionnairs which ask about the suitability of the professional code of ethics. The questions were 5 point rating scales of likert. The researcher used SPSS program to analyze the basic statistics, and used LISREL program Version 8.72 for Confirmatory Factor Analysis and Second Order Confirmatory Factor Analysis, in order to test the validity of the structural model of the professional code of ethics of the school administrators with the empirical data. The findings revealed that: The professional code of ethics of school administrators consisted of five main components which were code of ethics towards oneself, code of ethics towards professional code of ethics towards serviced-taker, code of ethics towards professional party, and code of ethics towards society. The components were ranked from the highest to the least factor loading which were shown as the code of ethics towards serviced-taker (.96) that was composed of 19 indicators, code ethics towards society (.90) that was composed of 20 indicators, code of ethics towards professional party (.89) that was composed of 21 indicators, code of ethics towards profession (.80) that was composed of 25 indicators, and code of ethics towards oneself (.74) that was composed of 23 indicators respectively. The validity testing result of the structural model of the professional code of ethics indicators of the school administrators by using chi-square, feasibility index, and revised feasibility index showed had significant validity with the empirical data. The testing result of criterion-related validity of the professional code of ethics indicators of the school administrators that tested with 72 sample in known group showed the mean between 3.99–4.90 which were in high and very high level which meant that the professional code of ethics the criterion- related validity.Downloads
Published
2024-03-13
Issue
Section
Articles