จิตตปัญญาศึกษา

Contemplative Education

Authors

  • ศิรประภา พฤทธิกุล

Keywords:

จิตตปัญญาศึกษา, การศึกษาวอลดอร์ฟ, ครูปฐมวัย, การจัดกระบวนการเรียนรู้, Contemplative Education, Waldorf Education, Early Childhood Teachers, Learning Process Organization

Abstract

จิตตปัญญาศึกษาเป็นรูปแบบหนึ่งของการศึกษาแบบองค์รวม ซึ่งใช้วิธีการที่หลากหลายบนหลักการแห่งการสังเกตภายในตน การมีสติกับปัจจุบันขณะ และการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ จุดมุ่งหมายคือเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความชัดแจ้งทางปัญญาและการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานที่มีต่อตนเองและจิตสำนึกต่อส่วนรวม บทความนี้นำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมา ความหมาย จุดมุ่งหมาย ปรัชญาพื้นฐาน หลักการพื้นฐาน ลักษณะการจัดกระบวนการเรียนรู้ และตัวอย่างรายวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยตามแนววอลดอร์ฟโดยใช้แนวคิดจิตปัญญาศึกษาเป็นฐาน ผลการนำไปใช้คือ 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้เกิดการบูรณาการอย่างสมดุลทั้งทางกาย จิตใจ และปัญญา 2) ผลการเรียนรู้ 3 ด้าน ประกอบด้วย 2.1) ด้านความรู้พบว่า นิสิตเกิดความเข้าใจในเนื้อหาของรายวิชา และเชื่อมโยงไปสู่การเข้าใจตนเอง เข้าใจเด็ก และการสร้างสรรค์สัมพันธภาพต่อผู้อื่น 2.2) ด้านทักษะ พบว่า นิสิตพัฒนาการมีสติ การน้อมสู่ใจอย่างใคร่ครวญ และการรับรู้รับฟังอย่างลึกซึ้งมากขึ้น 2.3) ด้านเจตคติ พบว่า นิสิตมีความสุขและความกระตือรือร้นในการเรียนรู้  Contemplative Education is the one model of holistic education that utilizes variety of methods based on self observation, meditation of present moment, and contemplation. The objectives of process learning are to develop learner's insight learning and transformation towards themselves and social public spirit. This paper presented about background, definition, purpose, fundamental philosophy, fundamental principle, learning process organization characteristic, and example of Experiences for Young Children on Waldorf Approach subject based on the Contemplative Education. The results of implementation were 1) the learning process organization was balanced integration of physical, soul, and intellectual 2) the learning outcomes were 3 domains consisted of: 2.1) cognitive domain was found that learners understood the subject content and related to self awareness, child understanding, and creativity in relationship with other; 2.2) psychomotor domain was found that learners developed meditation, contemplation, and deep listening; and 2.3) affective domain was found that learners were happy and performing active learning.

Downloads

Published

2024-03-14