การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการประเมินตนเอง เพื่อใช้ในการเทียบเคียงการปฏิบัติงานทางวิชาชีพครู

Development of a Self-evaluation Checklist for Benchmarking Teaching Professional Practices

Authors

  • พิรุนเทพ เพชรบุรี

Keywords:

แบบตรวจสอบราย การประเมินตนเอง , การเทียบเคียง , การปฏิบัติที่เป็นเลิศ, Evaluation Checklist , Benchmarking , Best practice

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การปฏิบัติงานทางวิชาชีพครูที่ดี ศึกษา ลักษณะการปฏิบัติงานทางวิชาชีพครูที่มีการปฏิบัติงานเป็นเลิศ เพื่อใช้สร้างหลักเทียบเคียงและเกณฑ์การปฏิบัติงานทางวิชาชีพครู และเพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบตรวจสอบรายการประเมินตนเองที่พัฒนาขึ้น ใช้ระเบียบ วิธีวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างเป็นครูประจำการ จำนวน 516 คน และกลุ่มครูผู้ปฏิบัติงานเป็นเลิศที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน  ผลการวิจัยสรุปว่า (1) โมเดลการปฏิบัติงานทางวิชาชีพครูที่ดี ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ 12 ตัวบ่งชี้ (2) ข้อรายการที่มีความเหมาะสมนำใช้ในการสร้างแบบตรวจสอบรายการประเมินตนเอง จำนวน 43 ข้อ ซึ่งในแต่ละข้อรายการประกอบด้วยเกณฑ์การเทียบเคียง 2 แบบ คือ เกณฑ์การเทียบเคียงครูประจำการ และเกณฑ์การเทียบเคียงของครูผู้ปฏิบัติที่เป็นเลิศ และ (3) แบบตรวจสอบรายการประเมินตนเองเป็นแบบเกณฑ์คุณภาพการให้คะแนน ในแต่ละข้อรายการเป็นมาตรวัดแบบรูบริกส์ คุณภาพเครื่องมือ มีค่าความเที่ยงแบบวัดซ้ำ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.92  The purposes of this research were: (1) to analyze the factors of the best teaching professional practice model, (2) to study the best teaching professional practices for building the benchmarks and criteria of teaching professional practices, and (3) to develop and examine the appropriateness of an evaluation checklist for benchmarking teaching professional practices. Descriptive research method was employed in this study. The samples consisted of two groups: the first group comprised 516 service teachers from 60 schools in Bangkok, the second group comprised 30 best practical teachers in Thailand selected by purposive sampling.  The results of this research found that, firstly, the best teaching professional practices model consisted of two factors and 12 indicators. Secondly, the appropriate items for building the self evaluation checklist for benchmarking teaching professional practices consisted of 43 items. The components of each item comprised two benchmarks, i.e., (1) benchmarks for general teachers, and (2) benchmarks for best practical teachers. Finally, the self-evaluation checklist for benchmarking teaching professional practice developed from this research was the criteria of merit checklist The scoring of each item used the rubrics scale. As for its reliability, the test-retest method found that its' coefficient correlation was .92.

Downloads

Published

2024-03-14