การพัฒนาหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสุรินทร์สำหรับเด็กปฐมวัย

The Development of Curriculum for Young Children Based on Local Wisdom in Surin Province

Authors

  • ศิริมงคล ทนทอง
  • สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์
  • บุญเชิด ภิญญอนันตพงษ์
  • เยาวพา เดชุคุปต์

Keywords:

การพัฒนาหลักสูตร , ภูมิปัญญาท้องถิ่น , เด็กปฐมวัย, Curriculum Development , Local Wisdom , Young Children

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสุรินทร์สำหรับเด็กปฐมวัย และเพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรที่มีต่อพัฒนาการด้านการเรียนและความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของเด็กปฐมวัย จากการใช้หลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสุรินทร์สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 5 ห้องเรียน คือ โรงเรียนบ้านตอกตรา โรงเรียนบ้านวังปลัด โรงเรียนบ้านทับทัน โรงเรียนบ้านเสรียง โรงเรียนบ้านสนบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวนทั้งสิ้น 88 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ หลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสุรินทร์สำหรับเด็กปฐมวัย และแบบประเมินพัฒนาการด้านการเรียนและความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินพัฒนาการด้านการเรียนและความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของเด็กปฐมวัย โดยใช้ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัยที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย 5 กลุ่มเนื้อหา คือ กลุ่มที่ 1 การประกอบอาชีพ ประกอบด้วย หน่วยการทำนาปลูกข้าว หน่วยการทอผ้าไหม หน่วยการทำเครื่องเงิน และหน่วยการทำเครื่องจักสาน กลุ่มที่ 2 พิธีกรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณี ประกอบด้วย หน่วยแซนโฏนตา หน่วยบุญผะเหวด หน่วยบุญสงกรานต์ และหน่วยบุญบั้งไฟ กลุ่มที่ 3 อาหารพื้นบ้าน ประกอบด้วย หน่วยขนม บายกรีม หน่วยขนมเนียล หน่วยขนมนางเล็ด และหน่วยขนมดอกลำเจียก กลุ่มที่ 4 ศิลปะและการละเล่น ประกอบด้วย หน่วยของเล่นเด็ก หน่วยนิทานพื้นบ้าน หน่วยงานช้างสุรินทร์ และหน่วยกันตรึม และกลุ่มที่ 5 แหล่งโบราณ สถานและบุคคลสําคัญ ประกอบด้วย หน่วยสุรินทร์จังหวัดของหนู หน่วยพระยาสุรินทร์ภักดี ศรีณรงค์จางวาง หน่วยอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง และหน่วยหลวงปู่ดุลย์ อตุโล และพัฒนาด้านการเรียนและความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของเด็กปฐมวัย พบว่าเนื้อหาและกิจกรรมเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ทําให้ผู้เรียน มีความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพท้องถิ่นของตนเอง ส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนได้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ส่งผลให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มีความสนใจในกิจกรรม และต้องการเรียนรู้เรื่องราวในท้องถิ่นมากขึ้น อีกทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรัก ความภาคภูมิใจในท้องถิ่นสุรินทร์  The purposes of this research were to develop a curriculum for young children based on local wisdom in Surin Province and to study its effects toward their academic development and self-esteem. The sample was 88 second year kindergarten students in 5 classes of Ban Dokdra School, Ban Wangpalat School, Ban Thapthan School, Ban Sariang School, and Ban Sanop School under Surin Education Service Area Office 3. The experiment of 20 learning units was conducted within the period of 4 weeks in 2nd semester of 2009 academic year. The instruments used in the research were the curriculum for young children based on local wisdom in Surin Province and the evaluation form for academic development and self-esteem of young children. The data were analyzed by using percentage and standard deviation.  The results of this research revealed that the curriculum for young children based on local wisdom in Surin Province developed consisted of 5 content groups. Group 1 Occupations consists of Rice Farming, Silk Weaving, Silverware Making, and Basketry Units. Group 2 Ritual, Tradition and Culture consists of San Don Ta, Bunphawet, Bun Songkran, and Bun Bang Fai Units. Group 3 Local Food consists of Khanom Baikrim, Khanom Nian, Khanom Nang Let, and Khanom Dok Lamchiak Units. Group 4 Arts and Folks consists of Toys, Folk Tales, Surin Elephant Round-up, and Kantruem Units. Group 5 Historic Places and Important Persons consists of My Surin Province, Phraya Surin Phakdi Si Narong Chang Wang, Huay Saneng Water Reservoir, and Luang Pu Dun Atulo Units. Regarding the academic development and self-esteem of the young children, it was found that the contents and activities were suitable for the learners. They provided learners with an understanding of their local conditions and circumstances; and also promoted all 4 areas of development -body, emotion-mind, society and intelligence-, happy learning, more interests in activities and learning about the local matters, and love and pride of Surin local community among learners.

Downloads

Published

2024-03-14