การเปรียบเทียบหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 4 ปี และ 5 ปี : การศึกษาวิจัยแบบพหุวิธี

A Comparison of 4-Year and 5-Year Teacher Education Programs: A Multi-Research Method Study

Authors

  • ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์

Keywords:

หลักสูตรครุศาสตร์ , ศึกษาศาสตร์ กระบวนการผลิตครู , การวิจัยแบบพหุวิธี, teacher education programs, pre-service teachers processes , a multi-research

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยป้อน กระบวนการผลิตครู และผลที่เกิดขึ้นกับ นิสิตครูของหลักสูตรครุศาสตร์ 4 ปีและ 5 ปี และเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหลักสูตรครุศาสตร์ 5 ปี กับนโยบายของหลักสูตร 5 ปีที่กําหนดแต่แรก วิธีวิจัยประกอบด้วยการศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์ นิสิตครู หลักสูตร 4 ปีและ 5 ปี และบัณฑิตคณะครุศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม  ผลการวิจัยสรุปว่า (1) องค์ประกอบคุณลักษณะของอาจารย์ คุณลักษณะของนิสิตครู ด้านทรัพยากร การ สอนของอาจารย์ ลักษณะการเรียนของนิสิตครู การเตรียมสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน และคุณภาพของนิสิตครู ในหลักสูตร 4 ปีและ 5 ปีไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่นโยบายของหลักสูตร 5 ปี มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีการเพิ่มเติมความรู้ทางวิชาการของนิสิตครูให้มีความลึกซึ้งมากขึ้น อีกทั้งมีการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพครูเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้วิชาเรียนและการจัดการหลักสูตร 5 ปีต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับนโยบายของหลักสูตร 5 ปี และ (2) หลักสูตรครุศาสตร์ 5 ปี เน้นให้นิสิตครูเรียนเนื้อหา วิชาการน้อยกว่านโยบายของหลักสูตร 5 ปี ที่กําหนดแต่แรก ส่วนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเป็นไปตามนโยบายหลักสูตรที่กำหนดแต่แรก  The purposes of this research were: (1) to study and to compare the input processes and outcomes of 4-year and 5-year teacher education programs, and (2) to compare 5-year teacher education programs and the initial 5-year program policy. A mixed method of quantitative and qualitative was employed. The research sample consisted of experts and lectures, pre-service teachers and 4-year and 5-year and service teachers. The research instruments were observation form, interview forms and questionnaires.  The research findings were as follows: (1) the components of lecturers' characteristics, pre-service teachers' characteristics, resources, lecturers' instructions, pre-service teachers' learning characteristics, material setting, and qualities of pre-service teachers showed no difference significantly at .05 level. However, the policy of the 5-year program difference significantly at .05 level, was to increase the accurate and comprehensive body of academic knowledge to pre-service teachers. This was to increase the teacher professional practices to pre-service teachers. Consequently, the subjects and management of the 5-year teacher education programs must conform to the 5-year policy. (2) The 5-year program that focused on subject studying of undergraduate education students less than the initial 5-year policy. Moreover, undergraduate education students' experiences of teacher professional practice were conformed to this policy also.

Downloads

Published

2024-03-14