สภาพและความต้องการในการอ่านเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
Condition and Need of Reading for Learning Rajamangala University Technology Tawan-ok
Keywords:
นักศึกษา - หนังสือและการอ่าน , การอ่านขั้นอุดมศึกษา, Students -books and reading, Reading by students in the university.Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการอ่าน ความสนใจ และความต้องการในการอ่าน ปัญหาในการอ่าน แหล่งเรียนรู้โดยการอ่าน และเปรียบเทียบความสนใจและความต้องการ ในการอ่านของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ทั้ง 4 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตบางพระ วิทยาเขตจันทบุรี วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ และวิทยาเขตอุเทนถวาย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวนทั้งสิ้น 9,825 คน โดยใช้วิธีการกำหนดสัดส่วน (Quota Sampling) และใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) รวม 900 คน ได้แบบสอบถามคืนทั้ง สิ้น 776 ชุด คิดเป็นร้อยละ 86.22 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสภาพและความต้องการในการอ่านเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Diviation) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) โดยวิธีการของเชฟเฟ์ (schefe) ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านสภาพการอ่าน นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ใช้เวลาส่วนใหญ่อ่านในเวลากลางวัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการอ่านเพื่อประกอบการเรียนตามหลักสูตร มีการเลือกหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่ออ่าน โดยใช้ดุลยพินิจของตนเองเป็นหลัก มีสถานที่ที่อ่านเป็นประจำ คือ หอพักนักศึกษาอ่านหนังสือเฉลี่ย 1.41 เล่มต่อวัน โดยลักษณะของหนังสือหรือบทความที่ชอบอ่านต้องพิมพ์เป็นภาษาไทย หนังสือที่อ่านประจำอย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ มากที่สุด คือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เพื่อติดตามข่าวสาร เหตุการณ์ ปัจจุบัน วารสารที่สนใจอ่าน มากที่สุดคือ วารสารบันเทิง คุณสมบัติของนักเขียนที่มีผลต่อการอ่านหนังสือหรือ บทความ คือ มีความเชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ แหล่งความรู้ที่ค้นคว้าของนักศึกษามากที่สุดคือ สำนักวิทยาบริการฯ วิทยาเขตที่กำลังศึกษาอยู่ (2) ความสนใจและความต้องการในการอ่าน หนังสือและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) วารสาร และวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Ji-Journal) หนังสือพิมพ์ ฐานข้อมูลอ้างอิง (E-reference) ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (3) ปัญหาในการอ่าน ด้านปัญหาที่เกิดจากนักศึกษามากที่สุดคือ ไม่มีเวลาอ่าน ด้านปัญหาที่เกิดจากอาจารย์ผู้สอนมากที่สุดคือ อาจารย์ผู้สอนแนะนำให้อ่านสิ่งพิมพ์ที่ยากเกินไป ด้านปัญหาที่เกิดจากบริการของสำนักวิทยบริการฯ มากที่สุดคือ สำนักวิทยบริการฯ มีหนังสือไม่ตรงกับความต้องการ วิธีการแก้ปัญหาเมื่อต้องการอ่านหนังสือ สิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ หาซื้อเอง (4) การเปรียบเทียบสภาพการอ่านของนักศึกษาจำแนกตามวิทยาเขตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เปรียบเทียบความสนใจและความต้องการในการอ่านของนักศึกษา พบว่า ความสนใจในการอ่านหนังสือและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e - book) วารสารและวารสาร อิเล็กทรอนิกส์ (e - journal) จำแนกตามวิทยาเขตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นความ สนใจในการอ่านหนังสือพิมพ์ จำแนกตามวิทยาเขตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การเปรียบเทียบปัญหา ในการอ่านจำแนกตามวิทยาเขตแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ The purposes of the study are to investigate the condition, interest, and need in reading; reading problems; learning by reading resources and compare the interest in reading of the student in the four campuses of Rajamangala University of Technology Tawan-ok. They are Bangpra Campus, Chuntaburi Campus, Chakrabongse Bhuvanarth Campus and Uthentawai Campus. The populations of the study are 9,825 students. The sampling techniques for the sample is Quota Sampling and Simple Random Sampling. There were 900 participants asked to completed and return the questionnaires. 776 of the questionnaires (86.22%) were returned. The instrument applied in the study was the questionnaire asking about need of reading for learning of the students in Rajamangala University of Technology Tawan-ok. The statistics used in the study ware frequency, percentage, Mean, Standard Deviation, F-test, Scheffé's method was applied for pairwise comparison where there were some differences. The findings of study are as follows: (1) For reading conditions, the students in Rajamangala University of Technology Tawan-ok spend most hours activities based on learning curriculum, reading in day time only. The purpose of their reading is based on learning curriculum. The methods used based on types of the books and paper they read. The major reason they choose to read is by their own consideration. They commonly read at their dormitories. The average amount of their reading was 1.41 per day. The type of what they read is newspapers. The subject matter they read is stories. The quality of the author of the book they choose is expertise in the field. The most quality of the book they read is in Thai Language. The type of the journals they choose to read is entertaining journals. Their purpose to read newspaper is to follow current situations. The most newspaper they read is Thairat. The reading practice for types of newspaper, press, and electronic media is Thai Language Newspaper. The most used study resource is the Centre of Academic Resources at their campus. (2) The students' interest and needing of reading books, e-book newspaper, and learning reference is in the average level. (3) The most reading problem based on the students themselves is having no time. The most problem based on the instructors is assigning the students to read too difficult text. The problems based on the Centre of Learning Resources are that the books do not match the students' need. The most solution they take to solves the problems is buying reading press themselves. (4) The results of the comparison between students' investigate the condition by students' campuses is significantly different of .05. and students' interest and their need of reading show that: The interest of reading books and e-books journals and e-journal segregated by students' campuses is significantly different of .05. The interest of reading newspapers segregated by students' campuses is not significantly different. The compare between student's problems of reading by students' campuses is not significantly different.Downloads
Published
2024-03-14
Issue
Section
Articles