การศึกษาและพัฒนาลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรม โดยใช้การฝึกอบรมทางการให้คำปรึกษา

A Study and Development of Characteristics of Industrial Counselors Through Counseling Training

Authors

  • เบญจวรรณ บุณยะประพันธ์

Keywords:

ลักษณะของผู้ให้คำปรึกษา , การฝึกอบรมทางการให้คำปรึกษา , ผู้ให้คำปรึกษาในโรงงาน อุตสาหกรรม, Counselors' characteristics , Counseling training , Industrial counselors

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาในโรงงาน อุตสาหกรรม สร้างโปรแกรมการฝึกอบรม และเปรียบเทียบลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ปี พ.ศ. 2552 โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือผู้ให้คำปรึกษาที่ใช้ในการศึกษาองค์ประกอบลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 355 คน ส่วนกลุ่มที่สอง คือผู้ให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ที่ได้รับการประเมินจากแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นในขั้นที่ 1 และมีคะแนนลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 ลงมา จำนวน 24 คน ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 12 คน ที่สมัครใจและมีเวลาเพียงพอเพื่อรับการฝึกอบรม และกลุ่มควบคุมจำนวน 12 คน ไม่ได้รับการฝึกอบรม ผลการวิจัย พบว่า โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาในโรงงาน อุตสาหกรรม ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านเจตคติของผู้ให้คำปรึกษา ด้านคุณสมบัติทั่วไปของผู้ให้ คำปรึกษา ด้านความรู้ และด้านความสามารถในการปฏิบัติ โมเดลลักษณะของผู้ให้คำปรึกษามีความเหมาะสม พอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถวัดองค์ประกอบลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรมได้ การพัฒนาลักษณะของผู้ให้คำ ปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นการสร้างสัมพันธภาพ ขั้นการพัฒนาลักษณะของผู้ให้คำปรึกษา ขั้นการฝึกปฏิบัติ ขั้นการประเมิน และขั้นการประยุกต์ใช้ โดยประยุกต์ทฤษฎี เทคนิคทางการให้คำปรึกษา และเทคนิคทางการฝึกอบรม ผลการเปรียบเทียบลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรมโดยรวมและราย องค์ประกอบพบผลปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กับการวัดก่อนทดลอง หลังทดลอง และหลังการติดตามผล ซึ่งส่งผลต่อลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรม ดังนี้ ลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรมของกลุ่มทดลอง หลังการทดลองและหลังการติดตามผลสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับหลังการทดลองและหลังการติดตามผลแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรมของกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  The purposes of this research were to study and analyze industrial counselors' characteristics components, to develop a characteristic counseling training program, and to compare the industrial counselors' characteristics. The subjects were industrial counselors working in the Eastern region of Thailand during 2009. They were divided into two groups. The first group consisted of 355 industrial counselors being representative of the characteristics component study. The second group consisted of 24 industrial counselors, in Sriracha, Chonburi Province, who were assessed by the constructed scale and obtained total characteristic scores at the 50th percentile and lower. Subsequently, they were divided into two groups. The first was an experimental group comprising 12 counselors voluntarily attending the training and the second was a control group comprising 12 counselors obtaining no training.  Findings of the research revealed that the model of industrial counselors' characteristics could be characterized into four factors: attitude, general qualifications, knowledge and practices. The model was consistent with the empirical data. These four components were high loading at .05 level and could be able to measure the characteristics of industrial counselors factors. The training program for developing the characteristics of industrial counselors included five major stages: rapport, characteristic development, practice, evaluation and application. Counseling theories and techniques were integrated with training techniques to order to develop the program. As a result, the comparisons of total and each component of industrial counselors' characteristics yielded the interaction of the experimental group and the control group before, after and at the follow-up training period which in turn bear on the industrial counselors' characteristics as follows, the industrial counselors' characteristics of the experimental group after and at the follow-up training period were statistically higher than before the experiment at the .05 level. Inversely, the characteristics after training and at the follow-up period were non-significantly different at the .05 level. The industrial counselors' characteristics of the control group during before, after and at the follow-up training period were non-significantly different at the .05 level.

Downloads

Published

2024-03-14