การเทียบเคียงการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร

Benchmarking of School-Based Management for Elementary Schools under Bangkok Metropolitan Administration

Authors

  • นคร แสงนิล
  • ชูชาติ พ่วงสมจิตร์
  • นิตยา ภัสสรศิริ
  • วิเชียร เกตุสิงห์

Keywords:

การเทียบเคียง , การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน , โรงเรียนประถมศึกษา , กรุงเทพมหานคร, Benchmarking, School-based management, Elementary school, Bangkok Metropolitan Administration

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management : SBM) สำหรับโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร (2) สร้างเกณฑ์เทียบเคียงวิธีปฏิบัติงานที่ดีที่สุดของ SBM (3) เปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานของ SBM จำแนกตามขนาดโรงเรียน (4) ศึกษา ช่วงห่างระหว่างเกณฑ์เทียบเคียงกับผลการปฏิบัติงานของ SBM เฉพาะในส่วนที่ปฏิบัติงานไม่สมบูรณ์ (5) นำเสนอ แนวทางการพัฒนา SBM - การวิจัยนี้ใช้ทั้งวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กระบวนการเทียบเคียงใช้กระบวน การของทักเกอร์ และประเภทของการเทียบเคียงใช้การเทียบเคียงภายในองค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพ SBM คือ โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 222 โรง ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอน โรงเรียนละ 8 คน รวมทั้งสิ้น 1,776 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบวัดสภาพ SBM มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน คะแนนมาตรฐาน เปอร์เซนไทล์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวน การทดสอบสมมุติฐานใช้ระดับความมีนัยสำคัญ .05 นอกจากนี้ยังใช้วิธีการเยี่ยมชมกรณีศึกษาจากโรงเรียนที่ปฏิบัติ งาน SBM ได้ยอดเยี่ยม 3 โรงเรียน จำแนกตามขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ อย่างละ 1 โรงเรียน รวมทั้งการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำไปสู่การหาแนวทางการพัฒนา SBM  ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพ SBM ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) เกณฑ์เทียบเคียงสภาพ SBM ที่โรงเรียนทุกแห่งใช้เป็นเป้าหมายในการพัฒนา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยของคะแนนมาตรฐานที่ 558.25 ขึ้นไป (3) สภาพ SBM จำแนกตามขนาดโรงเรียนไม่แตกต่างกัน (4) ช่วงห่างระหว่างคะแนนเกณฑ์เทียบเคียงกับคะแนนสภาพ SBM ของโรงเรียนที่ปฏิบัติงานได้ไม่สมบูรณ์ โดยภาพรวมและรายมิติมีช่วงห่างของค่าเฉลี่ยคะแนนมาตรฐานระหว่างร้อยละ 56.74-69.91 และ (5) แนวทางการพัฒนา SBM มีดังนี้ (5.1) สำหรับมาตรฐานด้านการกระจายอำนาจ ควรปรับปรุงโครงสร้างการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน การแก้ไขระบบงบประมาณ ควรเป็นแบบมุ่งเน้นผลงาน ควรมีการให้อำนาจในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร และควรใช้ระบบการทำงานแบบไร้กระดาษ (5.2) สำหรับมาตรฐานการบริหารแบบมีส่วนร่วม ควรเสริมความรู้ ความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบต่อ SBM แก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ (5.3) สำหรับมาตรฐานด้านธรรมาภิบาล ควรรายงานผลการดำเนินการทุกด้านให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ  The objectives of this research were to: (1) study the condition of school-based management (SBM) in elementary schools under Bangkok Metropolitan Administration (BMA); (2) create benchmarks for best practice of SBM; (3) compare SBM performance outcomes of schools classified by size; (4) study the gaps between benchmarks and SBM performance outcomes of schools in the areas where unhealthy performance existed; and (5) present the guidelines for SBM development  Both quantitative and qualitative research methodologies were applied by choosing Tucker's benchmarking process and internal benchmarking type for this research. The research sample for the study of SBM conditions consisted of 222 elementary schools under BMA. From each of these schools, eight administrators, assistant administrators, and classroom teachers were selected as informants, making the total number of 1,776 informants for this study. The research instrument was a 5-scale rating questionnaire with reliability coefficient of 98. Statistics employed for data analysis were the mean, standard deviation, standard score, percentile, and ANOVA. The .05 significance level was predetermined for hypothesis testing. In addition, site visits to three best practice schools comprising one large school, one medium-sized school and one small school, and a focus group discussion involving experts were conducted to obtained guidelines for SBM development. The research findings were as follows: (1) the SBM conditions of the elementary schools, based on the total rating means, were at the high level; (2) the created benchmarks for best practice goals of SBM under BMA had averaged standard scores of 558.25 and over; (3) the overall SBM conditions of schools with different sizes were not significantly different; (4) the overall and by dimension of the SBM gaps between the benchmark standard scores and the schools' averaged unhealthy performance scores were between 56.74 and 69.91 percent; and (5) the guidelines for SBM development comprised the following: (5.1) on the decentralization standard, there should be the improvement of the administration structure of basic education, the adoption of the performance-based budgeting, the devolution of personnel recruitment and selection, and the use of the paperless working system; (5.2) on the participatory management standard, there should be the enhancement of knowledge and understanding of basic education board members on their roles and responsibilities in SBM; and (5.3) on the good governance standard, there should be the reporting of every aspect of performance outcomes to stakeholders.

Downloads

Published

2024-03-15