การออกแบบการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6

The Design of Instruction to Practice Problem Solving Skills on Mathematics for the sixth grade students

Authors

  • สุวรรณา จุ้ยทอง

Keywords:

การออกแบบการเรียนการสอน, การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, Instructional Design, Problem Solving

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 47 คน กลุ่มควบคุม 46 คน กลุ่มทดลอง ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ pretest -posttest Control-group design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เอกสารประกอบการสอนรูปแบบการเรียนการสอน แบบทดสอบวัดความสามารถ แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทั่วไป และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติพื้นฐาน และสถิติทดสอบโดยใช้ t-test  ผลการวิจัยพบว่า เมื่อนำรูปแบบที่สร้างขึ้นไปใช้ ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยได้ออกแบบขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการเรียน การสอน และการวัดผล ส่วนขั้นตอนการสอนใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของโพลยา มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นทำความเข้าใจปัญหา ชั้นวางแผนการแก้ปัญหา ขั้นดำเนินการตามแผน และขั้นตรวจสอบผล โดยมีการนำไปบูรณาการกับรูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ ตามแนว STAD ปรากฏว่ารูปแบบการเรียนการสอนที่สร้างขึ้น สามารถพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของกลุ่มทดลอง ที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอบแบบปกติ และนักเรียนสามารถใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาทั่วไปได้  The purposes of this research were to design the instruction to practice problem solving skills on mathematic for the sixth grade students as well as to compare learning achievement and problem solving ability in mathematics between students taught by the newly designed instruction method. The samples consisted of 93 sixth grade students at Anubanwatangthong school, Angthong Educational Service Area office, 47 experimental group students were taught by the newly designed instruction method while the control group consisting of 46 students was done by conventional method. The research design of this study was pretest - posttest; control-group designed. The research instruments were supplementary materials, abilities test forms of mathematics problem solving for the sixth grade students. The subjects were given the tests on the application designed by the researcher. Data were analyzed by descriptive statistical analysis. The statistical technique used in data analysis was t - test.  The results indicated that concepts the newly designed model to guild cooperative learning approach models under Student Team Achievement Division. The newly designed instructional method to practice problem solving skills on mathematics for the sixth grade students comprised teaching - learning processes which employed the concepts for Polya's problem solving process in 4 steps; 1) Understanding the problem; 2) Devising a plan; 3) Carrying out the plan, and 4) Looking back. The newly designed model was implemented on the sixth grade students, the findings revealed that the newly designed instructional design was able to held develop both the problem solving ability in mathematics and learning achievement for the mathematics of sixth grade students. The mean scores problem solving ability in mathematics and mathematics learning achievement of the experimental group were significantly higher than those of the controlled group.

Downloads

Published

2024-03-15