การประยุกต์แบบจำลองทางเศรษฐมิติสำหรับการวางแผนกำลังแรงงานและการศึกษาของไทย
An Application of Econometric model for Labour Force and Educational Planning in Thailand
Keywords:
ปริมาณกำลังแรงงานแรงงาน , ความต้องการแรงงาน , ผลิตภาพการผลิต, Labour force supplied, labour force demanded, ProductivityAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์ปริมาณกำลังแรงงานในแต่ละระดับการศึกษา พยากรณ์ความต้องการแรงงานที่จำแนกตามเพศ และระดับการศึกษาที่สอดคล้องกับตัวแปรทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตในแต่ละสาขาการผลิต กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้อมูลทุติยภูมิตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530-2550 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบจำลองปริมาณกำลังแรงงาน และแบบจำลองความต้องการกำลังแรงงานซึ่งเป็นรูปแบบฟังก์ชันคอบบ์-ดักลาส สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปร และวางแผนการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังแรงงานในอนาคต คือ การวิเคราะห์สมการถดถอยด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบธรรมดา ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมประเทศไทยมีแนวโน้มปริมาณกำลังแรงงานใหม่เพิ่มสูงขึ้น โดยกำลังแรงงานใหม่ระดับประถมศึกษาและต่ำกว่าและระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีแนวโน้มลดลง แต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ซึ่งเป็นแรงงานช่างฝีมือลดต่ำลงอย่างมากในขั้นวิกฤติ ส่วนระดับปริญญาตรีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สำหรับความต้องการแรงงานในภาพรวม พบว่า มีความต้องการแรงงานระดับล่าง ที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่ามากที่สุดในระดับที่เกินกว่าร้อยละ 50 ของความต้องการทั้งหมด เมื่อวิเคราะห์เป็นรายสาขาพบว่า สาขาเกษตรกรรม และสาขาก่อสร้าง เป็นสาขาที่เสียเปรียบในด้านรายได้จากการผลิตมากที่สุด เพราะมีผลิตภาพการผลิตต่ำเนื่องจากมีความต้องการแรงงานระดับล่างเป็นจำนวนมาก สำหรับสาขาบริการ สาขาพาณิชยกรรม สาขาการขนส่งและการสื่อสาร และสาขาอุตสาหกรรม เป็นสาขาที่มีความต้องการแรงงานระดับล่างค่อนข้างต่ำ จึงเป็นสาขาที่มีผลิตภาพการผลิตสูงและมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในด้านการกระจายรายได้จากการผลิต ดังนั้น การพัฒนาการผลิตควรพัฒนาคุณภาพกำลังแรงงานระดับกลางที่มีทักษะในตลาดแรงงานเพิ่มขึ้น This research study is aimed to forecast sizes of the labour force in each educational level, to forecast sizes of the labour force demanded categorized by sex and educational level which correspond to economic variables in each field of production in the future. Samples were the secondary data collected during 1987-2007. The research tools were the models of the labour force supplied and demanded used in Cobb-Douglas Production Function. The data was analysed by regression based on the method Ordinary Least Square (OLS) so as to find the variable, relationship and the educational planning to develop the labour force in the future. The findings revealed that, in overall, Thailand had a tendency for the new labour to increase. The new labour force base in primary educational level or lower and in secondary education had a tendency to go down. The lower secondary education level had a tendency to be higher. The vocational certificate level which was the skilled labour went much lower during the crisis. The undergraduate level of education increased speedily. Concerning the labour force demanded in general, it was found that the highest labour demanded showed on primary education level and lower, which was higher than fifty percent of all the labour demanded. When each field was analyzed, it was found that agriculture and construction fields were inferior in the income from the production the most. The productivity was low due to the high labour force demanded on the lower-level. For the service, commercial, transportation and communication, and industry field, they had low labour force demanded on lower-level. As a result, they showed higher productivity and superiority when comparing with the income distribution of the production. Therefore, the production development should involve more development of skilled middle-level labour force in the labour market.Downloads
Published
2024-03-15
Issue
Section
Articles