การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการทักษะการคิดและการสรรค์สร้างความรู้สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2

Authors

  • ปราโมทย์ จันทร์เรือง

Keywords:

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน, การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน, การบูรณาการ, ทักษะการคิด, การสรรค์สร้างความรู้

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการทักษะการคิดและการสรรค์สร้างความรู้ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) โดยการจับสลากได้ โรงเรียนวัดปากคลองบางคู่ จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มทดลอง และโรงเรียนท่าวัง จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มควบคุม ซึ่งทั้ง 2 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนและเอกสารประกอบรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ขั้นตอนที่สองเป็นการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และสถิติทดสอบที่ (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ได้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 6 องค์ประกอบ คือ หลักการ จุดประสงค์ โครงสร้างเนื้อหา การวิเคราะห์งาน หน่วยการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การเรียนรู้ เอกสารประกอบ รูปแบบมี 3 เล่ม คือ คำแนะนำการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน หน่วยการเรียนการสอน และคำแนะนำ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ทักษะการคิดและการสรรค์สร้างความรู้ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่เรียนตามรูปแบบการจัดการเรียน การสอนที่พัฒนาขึ้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าการเรียนตามปกติอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลงานการสรรค์สร้างความรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดี และคะแนนเจตคติต่อการเรียนตามรูปแบบของนักเรียนอยู่ในระดับมาก  The research aims to develop the instructional model integrated with thinking skills and knowledge constructivism for second level – primary education students. The samples selected by simple random sampling comprosed 2 groups, 60 students, of second level - primary education students during the 2008 academic year, the experimental group 30 students of Wat Pagklong Bangkhu School, and the controlled group 30 of Thawugn School. Both schools were under the Lop Buri Educational Service Area Office 1. The research procedures had 2 steps, first, developing the instructional model and supplementary materials, second, testing testifying the developed model. The data was analyzed to calculate percentage, mean, standard deviation and t-test. The findings revealed that: the instructional model developed comprised 6 components, i.e. rationale, objectives, content structure, task analysis, instructional units, and measurement and evaluation. The supplementary materials accompanied comprised 3 copies namely: guideline of using instructional model and instructional units, and guideline in learning measurement and evaluation. The posttest of thinking skills and knowledge constructivism of the second level – primary education students, studies based on the developed instructional model was higher than the pre-test with .05 statistically significant difference and so was the normal study. The output of knowledge constructivism was rated at a high level. The students attitude towards said study was also rated at a high level.

Downloads

Published

2024-03-18