การเสริมสร้างค่านิยมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา

Value Building of Sufficiency Economics for Elementary Level Students

Authors

  • สุเมธ งามกนก

Keywords:

การเสริมสร้างค่านิยม, เศรษฐกิจพอเพียง , ชุดการสอน, encouraging values, sufficiency economics, instructional packages

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างชุดการสอนเพื่อเสริมสร้างค่านิยมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่ได้เรียนจากชุดการสอนก่อนและหลังเรียน รวมทั้งเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากใช้ชุดการสอนของนักเรียน ในโรงเรียนขนาดต่างกัน  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 81 คน แบ่งเป็นนักเรียนของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ จำนวน 20 คน โรงเรียนวัดบางเป้ง จำนวน 25 คน และโรงเรียนบ้านแหลมแท่น จำนวน 36 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื้อหาที่นำมาใช้สร้างชุดการสอนเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ชุด 3 เรื่อง ได้แก่ การเรียนรู้ตนเองเศรษฐกิจพอเพียง และการวางแผนการใช้จ่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการสอนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One Way ANOVA)  สรุปผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้ 1. ชุดการสอนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.05 / 88.61 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใน โรงเรียนขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ไม่แตกต่างกัน  The objectives of research were to construct instructional packages for building the sufficiency economic values for Pratomsuksa students, to investigate. The pretest-posttest achievements and value of sufficiency economics after using the instructional packages and also to compare those achievements and value of sufficiency economics as classified by school sizes. The samples consisted of 81 Pratomsuksa 6 students from 3 schools; 20 students of Wonnaphasub school, 25 students of Watbangpeng School and 36 students of Banlaemtan school which were selected by the mean of purposive sampling. The contents concern the sufficiency economics, strands of Social Studies Religion and Culture of Pratomsuksa 6 and divided into 3 units; self learning, the Sufficiency Economics and money spending plan. The instrument used in this research consisted of 3 instructional packages, lesson plan, achievement test and questionnaire of Sufficiency Economics' value percentage, mean, standard deviation, t-test and One Way ANOVA were employed for data analysis. The results of research were as follows; 1. The instructional packages for Pratomsuksa 6 were at 80.05/88.61 and met the criteria of 80/80. 2. The posttest achievement and value of sufficiency economics were higher than the pretest, and there was significantly difference at.01 level. 3. The student's achievement and value of sufficiency economics different schools as classified by school sizes: small and large were not significantly differences.

Downloads

Published

2024-03-20