เครือข่ายการเรียนรู้ในงานบุญเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง

Authors

  • สมหมาย แจ่มกระจ่าง
  • พีระพงษ์ สุดประเสริฐ

Keywords:

การศึกษาชุมชน , ชลบุรี-ความเป็นอยู่และประเพณี

Abstract

งานวิจัยเรื่อง เครือข่ายการเรียนรู้ในงานบุญ เสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษารวบรวมประวัติความเป็นมาการจัดงานประจำปีของวัดในชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 2. ศึกษาเครือข่ายการเรียนรู้ และกระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในงานบุญประจำปีของวัด ในจังหวัดชลบุรี และ 3. ศึกษาภูมิปัญญาด้านอาหารของชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาหลายรูปแบบคือจากการศึกษาเอกสารและผู้วิจัยเอง เป็นเครื่องมือในการพบคนในชุมชน มีการพูดคุยสนทนาสังเกต สัมภาษณ์ และการเข้าร่วมกิจกรรมงานบุญของแต่ละวัด อย่างต่อเนื่องและเป็นปกติ  พื้นที่ศึกษากิจกรรมงานบุญประกอบด้วย 6 วัด คือวัดท้ายดอน วัดตาลล้อม ในตำบลบ้านเหมือง วัดบางเป้ง วัดใหม่เกตุงาม วัดเตาปูน ในตำบลบ้านปีก และวัดเสม็ด ในตำบลเสม็ด ไม่มีวัดอื่นใดในอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรีทำกิจกรรมงานบุญในลักษณะเดียวกันนี้  การเก็บข้อมูลวิจัยนี้ ต้องทำตลอดปี เนื่องจากงานบุญของแต่ละวัดจัดขึ้นไม่พร้อมกัน มีการเอื้อ อำนวยเวลาซึ่งกันและกัน ด้วยการจัดเวลาให้ต่อเนื่องกันเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกันทุกวัด แต่ละวัดมีกำหนดวัน เดือน ไว้ล่วงหน้าเป็นที่รู้กันในชุมชน  การศึกษาครั้งนี้พบว่า  1. ความเป็นมาของวัดแต่ละวัดมีความเกี่ยวข้องกับชุมชน นานนับเป็นเวลา กว่า 100 ปี วัดเสม็ดเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุด ส่วนงานบุญประจำปี ที่จัดขึ้นที่มีกิจกรรมแบบเดียวกัน 6 วัด เฉพาะในอำเภอเมืองเท่านั้น จังหวัดชลบุรี เท่านั้น  2. บริบทงานบุญของวัดทั้ง 6วั ด มีลักษณะเดียวกันคือ ประกอบด้วย 1.งานบุญถวายภัตตาหาร อุทิศส่วนกุศลให้บูรพาจารย์ของวัด 2. การปิดทองรูปปั้นบูรพาจารย์ของวัด 3. มหรสพการละเล่น 4. การออกร้าน อาหารของวัด และ กระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในงานบุญประจำปีของวัดเกิดขึ้นจากปัจจัยพื้นฐาน 5 ประการ และแรงขับเคลื่อน 2 ประการ  2.1 ปัจจัยพื้นฐาน 5 ประการ  2.1.1 ความศรัทธาต่อวัดคนในชุมชน ยินดีสละกำลังกายและทรัพยากรเพื่อพัฒนาวัด  2.1.2 ความศรัทธาต่อบุคคล มีผู้ร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลกันมากให้แก่เจ้าอาวาส อดีตเจ้าอาวาสที่มรณภาพไปแล้วเป็นผู้มีคุณูปการต่อชุมชนรอบด้าน  2.1.3 ศรัทธาต่อการทำบุญอุทิศ ส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับไปแล้วเป็นประเพณีสืบทอด  2.14 ภูมิปัญญาท้องถิ่นการช่วยกันทำขนมประจำท้องถิ่นจนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน  2.1.5 การเรียนรู้ร่วมกัน ในการทำอาหารของวัด มีการถ่ายทอดความรู้ภายในชุมชนและสร้างเครือข่ายระหว่างชุมชน  2.2 แรงขับเคลื่อน 2 ประการ  2.2.1 ทุนทางสังคมของชุมชน เป็นชุมชนที่มีทุนทางสังคมสูง มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชน เมื่อมีงานบุญประเพณี คือการเอาแรง ช่วยเหลือทำอาหารเพื่อจำหน่ายให้ทั้ง 6 วัด เป็นการช่วยเหลือเกาะกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น และสืบทอดต่อ ๆ กัน  2.2.2 กระแสความศรัทธาเจ้าอาวาสวัดที่ล่วงลับไปแล้ว นิยมสร้างอนุสาวรีย์หรือรูปปั้นไว้ และกระแสความนิยมในการทำบุญด้วยการ ช่วยซื้ออาหารของวัดที่ประกอบขึ้นในงาน จึงทำให้คนในชุมชนมารวมตัวกันเป็นประเพณีทุกปี  3. ภูมิปัญญาอาหารคาว อาหารหวาน สมาชิกในชุมชนได้นำภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้าน มาร่วมกันประกอบเป็นอาหารประจำท้องถิ่น อาหารคาว 3 ชนิด อาหาหวาน 4 ชนิด  This research was to find out how Learning Network on the Temple Charity Annual Fair enhanced the community ties, revealed the background of the fairs, and the knowledge of culinary wisdom acquired. Means of studies were: documents, meeting, talking, interviewing with the inhabitants observing and regularly joining the fairs.  Samples were 6 temples: the Taidorn, the Tarnlorm in Ban-Muang District, the Bang-Peng, the Mai-Ketngarm, the Taopoon in the Ban-Puek District, and the Samed in the Samed District, all of which held the unique annual charity temple fairs being studied.  The finding was found as the following 1. From the study of each temple history, it was found that every temple had been related to its community for more than a century. The Samed Temple was the oldest. Only 6 temples in Muang District organized this particular style of annual temple fair.  2. The process of the merit making of the 6 temples annual charity fairs was of the same pattern: 1) offering alms to the monks, the merit of which was to be dedicated to the late venerable monks; 2) gilding the late venerable monk statues; 3) having stalls to sell goodies for charity fund. It was found that the situation that enhanced learning in the temple fairs had stemmed from 5 factors and 2 drives:  2.1 The 5 factors:  2.1.1 Faith in the temples: in the past a temple was, in all respects, the community center. Each inhabitant considered the temple their asset. Thus, they devoted themselves to working for the temple. The idea had been cherished up to the present days.  2.1.2 Faith in the abbots: the late venerable abbots had been benevolent, so the inhabitants made it a must to attend the temple fairs. They were there for merit making  2.1.3 Making merit to commemorate the dead had been traditionally practised.  2.1.4 Goodies like kalamae, knowniewdaeng, kanomtiankaew had been perfectly prepared and appreciated by the communities.  2.1.5 The culinary knowledge had been passed on to all in communities. At the same time there was socialization among community members. On top of that those who had leadership were recognized and chosen leaders.  2.2 The 2 drives:  2.2.1 Social background: the communities had the high rate of social interaction, and people were willing to lend their hands to each other. Thus, when the temple fairs took place, everyone took turns raising fund for the temples. These people had been helping to one another from generation to generation.  2.2.2 The trendy idea of making statues of the eminence initiated an idea of making the abbots statues, at which the people gilded to ask for blessings, this attitude as well as the goodies attract people to the fairs.  3. As to the culinary folk wisdom, it has been applied to innovate community typical food: 3 main dishes and 4 kinds of dessert.

Downloads

Published

2024-03-26