การพัฒนากิจกรรมในหลักสูตรเสริม เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน

The Development of Activities in the Enrichment Program to Develop Students’ Analytical Thinking Skills

Authors

  • ปรียานุช สถาวรมณี

Keywords:

กิจกรรมในหลักสูตรเสริม , ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน , กิจกรรมพัฒนานักเรียน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนากิจกรรมในหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนา ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน และ เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของกิจกรรมใน หลักสูตรเสริม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 36 คน ของ โรงเรียนแม่พระฟาติมา ซึ่งเป็นโรงเรียนของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สำหรับเครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วย 10 กิจกรรม และแบบทดสอบวัดทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล พื้นฐานใช้ค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบ เทียบทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ ช่วง ก่อน และหลังการทดลองกิจกรรม ใช้ t-test  ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนากิจกรรม ในหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน ด้วย 3 หลักการ ได้แก่ หลักเอกัตบุคคลหลักประชาธิปไตยและหลักการปฏิบัติ ที่สอดแทรกยุทธศาสตร์การมีส่วนเกี่ยวข้องของนักเรียนใน 3 ลักษณะ ได้แก่ การมีอิสระ การแสดงความคิดเห็นและการสื่อสารบนพื้นฐานทฤษฎีการมีส่วนเกี่ยวข้องของนักเรียนของแอสติน (Astin's Theory of Student Involvement ) ประกอบด้วย 10 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 “กฎของลูกเสือ” กิจกรรมที่ 2 “เด่นเขา...แด่นเรา” กิจกรรมที่ 3 “เก็บของ...ต้องถูกหลักลูกเสือ” กิจกรรมที่ 4 “ตลาดนัดใกล้โรงเรียน กิจกรรมที่ 5 “เข็มทิศ...พิชิตสมบัติ” กิจกรรมที่ 6 “ปัญหารอบรั้วโรงเรียน กิจกรรมที่ 7 “ลูกเสือ..รู้เรื่องเงื่อน..เพื่อนช่วยประดิษฐ์” กิจกรรมที่ 8 “เรียนรู้ทุกสาระน่าจะนำไปใช้...ได้หรือไม่?” กิจกรรมที่ 9 “ผลการทุบสะพานคนข้ามหน้าโรงเรียน และ กิจกรรมที่ 10 “สึนามิ” และ 2) เมื่อทดลองใช้ 10 กิจกรรมในลักษณะการเข้าค่ายพักแรมเป็นเวลา 5 วัน ผลปรากฏว่า ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการจำแนก ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการสรุป ด้านการประยุกต์ และด้านการคาดการณ์ ตามทฤษฎีการคิดของมาร์ซาโน (Marzano's Taxonomy) มีคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และเมื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยคะแนนการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน พบว่า นักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์สูงและปานกลาง มีค่าเฉลี่ยคะแนน การคิดเชิงวิเคราะห์ในภาพรวมทั้ง 5 ด้าน ด้านการจัดหมวดหมู่ และด้านการสรุป สูงกว่านักเรียน ที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   This research aimed to develop activities in the enrichment program to develop students' analytical thinking skills and to assess the efficiency of the activities in the enrichment program  The sample consisted of 36 students in Grade 5 of Mae Phra Fatima School under B.K.K. Archdiocese. The instruments were a series of 10 activities and the questionnaires measuring students’ analytical thinking skills of which the statistical analysis were Mean, Standard Deviation to analyse the fundamental data and t-test to compare the students analytical thinking skills before and after the activity experiment.  The findings were 1) 10 activities based on three main principals to develop activities in the enrichment program : Individuality, Democracy and Practice integrated with the strategies of the student involvement in three characteristics : Freedom, Opinion Appearance and Communication based on Astin's Theory of Student Involvement were Activity 1 “Boy Scout's Regulation” Activity 2 “You and Me” Activity 3 “Keep things...on Boy Scout s Principals” Activity 4 “Market next to School Activity 5 "Compass...Property Search” Activity 6“Problems around School Activity 7 “Boy Scout...How Tie...How Create” Activity 8 “What to Learn...How to Apply" Activity 9 "Effects of Breaking Bridge in front of School” and Activity 10. "Tsunami" and 2) After 10 activity experiment in five-day-overnight camp, the students' analytical thinking skills in 5 areas : Matching, Classifying, Error Analysis, Generalizing and Specifying according to Marzano's Taxonomy; were statistically increased at.001 and Mean of analytical thinking skills in all areas, Classifying and Error Analysis for students with high and moderate achievement were statistically higher than those with low achievement at .05.

Downloads

Published

2024-03-26