แบบจำลองศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนเพื่อการศึกษา

A Proposed Model for a Learning Center on Renewable Energy for Education

Authors

  • สุวัฒน์ วรานุสาสน์

Keywords:

พลังงานทดแทน, ศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อพัฒนาแบบจำลองศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนเพื่อการศึกษา (2) เพื่อรับรองคุณภาพ แบบจำลองศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้มาด้วยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วยกลุ่มผู้บริหารทางการศึกษา กลุ่มนักเทคโนโลยี ทาง การศึกษาและกลุ่มผู้เชียวชาญด้านพลังงาน และสิ่งแวดล้อม จำนวน 19 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เทคนิคเดลฟายสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อพิจารณาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและความสอดคล้องของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วมาพัฒนาแบบจำลองศูนย์การเรียนรู้ฯ ตรวจสอบและรับรองคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบจำลองศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนเพื่อการศึกษาประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ 4 ส่วน คือ (1) แนวคิดและเป้าหมาย (2) โครงสร้างทางกายภาพ (3) ระบบการบริหารจัดการ และ (4) การประเมิน / การประกันคุณภาพ 1.1 แนวคิดและเป้าหมาย ประกอบด้วย ปรัชญา วิสัยทัศน์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และภารกิจ ศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทน เป็นหน่วยงานกลางความร่วมมือระหว่าง หน่วยงาน และเป็นแหล่งการเรียนรู้ด้านพลังงาน ทดแทนที่ให้บริการข้อมูลความรู้ คำปรึกษา และฝึกอบรม ศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมทางการเรียนรู้ เผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสู่กลุ่มเป้าหมาย 1.2 ด้านโครงสร้างทางกายภาพประกอบ ด้วยอาคารสถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ ชุดสาธิต สื่อ เทคโนโลยีที่นำมาใช้ และงบประมาณรายได้ในด้านโครงสร้างอาคาร สถานที่เป็นอาคารเอกเทศ ตัวอาคารเป็น 2 ชั้น มีเอกลักษณ์โดดเด่น เหมาะกับสภาพท้องถิ่น คำนึงถึงการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตั้ง อยู่บนพื้นที่ประมาณ 4.5-5 ไร่ บรรยากาศร่มรื่น จัดสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการ เรียนรู้ ภายในอาคารประกอบด้วย ห้องสำนักงานบริเวณจัดนิทรรศการและติดตั้งชุดสาธิต ห้องสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ ห้องประชุม สัมมนาภายนอกอาคารมีส่วนบริเวณ และภูมิทัศน์เป็นที่จัดวางติดตั้งชุดสาธิตสื่อ และเทคโนโลยีที่นำมาใช้ 1.3 ด้านระบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ ๆ ใช้รูปแบบ POSCADCARE ประกอบด้วยการวางแผน การจัดองค์การ การจัดบุคลากร การประสานงาน การจัดสรร ทรัพยากร การอำนวยการ การควบคุมงาน การประยุกต์/ปรับปรุง การรายงานและการประเมินผล 1.4 ด้านการประเมินและการประกันคุณภาพ มีการประเมินการดำเนินงาน การบริการ และเผยแพร่ การฝึกอบรม การวิจัยและพัฒนา มีระบบประกันคุณภาพ ประกอบด้วยเกณฑ์ การประเมิน 5 องค์ประกอบ 23 ดัชนีชี้วัด มีการประเมินตนเองและการประเมินภายใน 2. แบบจำลองศูนย์การเรียนรู้ด้านพลัง งานทดแทน ได้ผ่านการตรวจสอบและรับรอง โดยผู้ทรง คุณวุฒิ จำนวน 17 คน (รายบุคคล 8 คน และประชุมวิพากษ์ จำนวน 9 คน) จากหน่วยงานด้านการศึกษาและหน่วยงานด้านพลังงาน ผู้ทรงคุณวุฒิให้การรับรองแบบจำลอง โดยภาพรวมว่าสามารถนำไปใช้ได้จริง มีความ เหมาะสม และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียนรู้และการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนและประชาชน  Purposes: The purposes of this study were: (1) to develop a model for a learning center on renewable energy for education, and (2) to assure the quality of the model.  Methodology:  The research sample was a group of 19 experts using purposive random sampling which comprised seven educational administrators, seven educational technologists, and five experts in energy and the environment. Data were collected by means of the Delphi technique. Statistical devices were medians and interquartile range. Analyzed data were then used to develop and assure the quality of the model for a learning center on renewable energy for education.  Findings: It was found that 1. The model for a learning center on renewable energy for education consisted of four parts: (1) Ideas and Goals, (2) Physical Structure Factors (3) Administrative System, and (4) Evaluation and Quality Assurance. 1.1 Ideas and goals comprise philosophy, vision, goals, purpose and principal task. The model may be used as a Center of Renewable Energy for Education to provide knowledge and information services, consulting and training, research and development, technological media, instructional innovations on energy, publications, and transfer of the knowledge and technology on renewable energy to target groups, as well as acting as a center for cooperation among working units. 1.2 Physical structures comprise buildings, materials and facilities, demonstrative media, technology income and budget. The building consists of a two-storey building with a unique identity suitable to the local area, with energy saving and environmental conservation awareness. It should be located on a 4.5-5 Rai area within a pleasing and comfortable surrounding. The environmental setting should promote a learning atmosphere. The building should comprise an office of the Learning Center, rooms for information retrieval, meetings, seminars, and for exhibitions and demonstrations. For the demonstration area, media and technology should available. 1.3 POSCADCARE is recommended for the center administrative system comprising planning, organizing, staffing, coordinating, allocating resources, directing, controlling, application, reporting and evaluating. 1.4 In evaluation and quality assurance, an evaluation system is needed for the evaluation of process, services and publications, training, research and development. A quality assurance (Q.A) with five factors and 23 indexes, self-assessment report, and check assessment report should be implemented. 2. The proposed Model for a learning Center on Renewable Energy for Education was tested and validated by 17 experts (eight individuals and nine in focus groups), invited from educational and energy organizations. The experts found the overall model very useful in providing knowledge and attitudes to both the young and adult population on renewable energy and conservation.

Downloads

Published

2024-03-26