การพัฒนารูปแบบการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติสำหรับประเทศไทยในอนาคต

The Development of International Basic Education Model for Thailand in the Future

Authors

  • สนาน ลิป์เศวตกุล

Keywords:

การพัฒนาการศึกษา, การศึกษาขั้นพื้นฐาน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพสังคมไทยในอนาคต สภาพการศึกษาไทย ขั้นพื้นฐานในอนาคต และการพัฒนารูปแบบ การศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติสำหรับประเทศไทยในอนาคต โดยใช้เทคนิค EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ เชี่ยวชาญที่มีความรู้ และประสบการณ์ในเรื่อง การศึกษานานาชาติ จำนวน 24 คน ใช้วิธีการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแนวการสัมภาษณ์และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การเก็บข้อมูลดำเนินการ 3 รอบ รอบแรกเป็นการสัมภาษณ์แล้วนำข้อมูลที่ได้มาสร้างแบบสอบถาม แล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตอบในรอบที่สองและสาม ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามรอบที่สองและที่สาม นำมาหาค่ามัธยฐาน ฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ด้านสภาพสังคมไทยในอนาคต 1) ด้านประชากร โครงสร้างครอบครัว ครอบครัวไทยจะเล็กลง มีลักษณะครอบครัวเดี่ยว 2) ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ส่งเสริมให้ประชากรมีจิตสำนึกและยึดมั่นในขนบธรรมเนียมและประเพณีอันดีงามของชาติ 3) ด้านสาธารณสุข คนไทยทุกคนในอนาคตมี สุขภาพดีทั้งมิติทางกาย ทางจิต และทางสังคม 4) ด้านเศรษฐกิจ มีการสร้างเครือข่ายทางการค้า มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เพื่อก่อให้เกิดการต่อรองกับประเทศต่าง ๆ 5) ด้านการเมือง การปกครอง มีการกระจายอำนาจสู่ภูมิภาค และท้องถิ่นมากขึ้น 6) ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมถูกทำลายในวงกว้างมากขึ้น 7) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะมีการใช้เทคโนโลยีสำหรับการบริหารจัดการสมัยใหม่  สภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยในอนาคต 1) ด้านแนวคิดทุกคนต้องได้เรียนเพื่อเป็นพื้นฐานของชีวิต 2) ด้านจุดมุ่งหมายทำให้คนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 3) ด้านการเรียน การสอน หลักสูตร มีหลักสูตรการ ศึกษา 8 สาขา นำไปเป็นหลักสูตรสถานศึกษา 4 ด้านผู้เรียน มีอิสระในการเรียนมากขึ้น 5) ผู้สอนต้องพัฒนา ตนเอง 6) กระบวนการเรียนการสอน เน้นการศึกษาค้นคว้าทดลอง 7) ด้านสื่อการเรียนการสอน สื่อเทคโนโลยี สื่ออิเล็กทรอนิกส์ 8) การวัดและการประเมินผล ประเมินตามสภาพจริง 9) ด้านการบริหารและการจัดการ ส่วนใหญ่จะสิ้นสุดที่สถานศึกษา 10) ด้านบทบาทของรัฐและเอกชน ในการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาเป็นหน้าที่ของรัฐ เอกชนจัดเป็นทางเลือกของประชาชน 11) ด้านความสัมพันธ์กับชุมชนชุมชนเข้ามาเกี่ยวข้อง ในการจัดการศึกษามากขึ้น  ด้านการพัฒนารูปแบบการศึกษาขั้นพื้น ฐานนานาชาติสำหรับประเทศไทยในอนาคต 1) ด้านแนวคิดเสริมสร้างความเป็นนานาชาติ และความเป็นไทยควบคู่กันไป 2) ด้านจุดมุ่งหมายการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติ มีแนวโน้มเน้น คุณภาพการคิดเป็นทำเป็น ความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาทักษะทางด้านภาษา คอมพิวเตอร์ และการเรียนรู้ความแตกต่างทางด้านภาษาและ วัฒนธรรม 3) ด้านหลักสูตรเป็นหลักสูตรที่ทัน สมัย มีการยอมรับจากนานาประเทศ เน้นความเป็นสากล เน้นการเรียนการสอนให้เด็กเป็นศูนย์กลาง 4) ด้านผู้เรียน มีความหลากหลาย เชื้อชาติ และสัญชาติ 5) ด้านผู้สอน ควรค้นคว้าวิเคราะห์ปัญหาด้านต่าง ๆ มากขึ้น 6) ด้านภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษ 7) ด้านสื่อการเรียนการสอนเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ มีระบบให้ใช้ได้ง่าย 8) ด้านเกณฑ์ในการคัดเลือกนักเรียน ควรมีคณะกรรมการของโรงเรียน ร่วมกันสร้างเกณฑ์คัดเลือก นักเรียนเข้าเรียน โดยทำเป็นเกณฑ์กลางที่ชัดเจนของโรงเรียน 9) ด้านการวัดและการประเมินผล ประเมินตาม สภาพความเป็นจริง 10) ด้านระบบการศึกษาเป็นระบบ 12 ปี 1) ด้านการบริหารงบประมาณเป็นไปตามความเป็นจริงให้อิสระกับโรงเรียนนานาชาติในการบริหารงบประมาณ โดยการยกเลิกการควบคุมการกำหนด ค่าเล่าเรียน และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ 12) ด้านการบริหารบุคลากร บุคลากรต้องพัฒนาอยู่เสมอ มิฉะนั้น จะกระทบคุณภาพทางวิชาการ 13) ด้านการบริหารอาคารสถานที่จัดอาคารสถานที่ให้เหมาะสมสถานศึกษาและสถานการณ์ นักเรียนไม่จำเป็นต้องนั่งเรียนในห้องเรียนอย่างเดียว 14) ด้านคุณภาพของนักเรียนคุณภาพของนักเรียนจะสูงขึ้น เด็กมีการเรียนรู้ที่ทันสมัยกล้าแสดงออก เรียนรู้วัฒนธรรมต่าง ๆ มากขึ้น มีทักษะที่หลากหลาย สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมต่างประเทศได้

Downloads

Published

2024-03-26