การศึกษาและการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ตามวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาวชองในภาคตะวันออก

Education and Model of Fundamental Education (Twelve years) Development according to Chong's Culture and Local Wisdom in The Eastern Region

Authors

  • สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์

Keywords:

การพัฒนาการศึกษา, การศึกษาขั้นพื้นฐาน - ไทย (ภาคตะวันออก), ชอง, ภูมิปัญญาชาวบ้าน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการทางการศึกษาทั้งในและนอกโรงเรียน เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาวชอง พื้นที่ศึกษาคือตำบลคลองพลู กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี วิธีการวิจัยประกอบด้วยการศึกษาจากเอกสารและการออกภาคสนาม ซึ่งมีการสังเกต การสัมภาษณ์ การมีส่วนร่วมในกิจกรรม ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ พระสงฆ์ ครูผู้บริหาร โรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่ของทางราชการที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ชองเป็นชนพื้นเมืองเดิมอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกมานานแล้ว โดยเฉพาะในจังหวัดจันทบุรี ที่กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ ทุกคนได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมาย นับถือศาสนาพุทธ และยังมีความเชื่อเรื่องผีอยู่ด้วยมีภาษาพูด ประเพณีและวัฒนธรรมบางอย่างต่างไปจากคนไทยและยังถ่ายทอดกันอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะภาษาพูด และวัฒนธรรมเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต เมื่อการคมนาคมและการสื่อสารระหว่างตำบลกับตัวเมืองสะดวกขึ้นตาม แผนพัฒนาจังหวัด ทำให้ชองมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมกับคนไทยในเมืองมากขึ้น จึงเหลือวัฒนธรรมของตนเองน้อยลง ชาวชองมีการปรับตัวมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทยในการดำรงชีวิตและติดต่อกับทางราชการตามกฎหมาย ในด้านการศึกษารัฐบาลได้ใช้นโยบายเกี่ยวกับคนไทยทั่วไป ตามข้อกำหนดไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๓๕ เป็นแนวทางจัดการศึกษา 2. การศึกษาในระบบโรงเรียนของเด็กชองในตำบลคลองพลูนั้น เด็กสามารถเรียนได้ถึง 12 ปี เพราะในพื้นที่มีโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษาตั้งอยู่ทั้ง 2 ระดับ ในโรงเรียนประถมศึกษา คือ โรงเรียนวัดคลองพลู เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลด้วย จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นโรงเรียนขนาดกลาง อยู่ในกลุ่มตะเคียนทอง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ มีครู 14 คน นักเรียน 314 คน สอนตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 ปรับปรุง พ.ศ. 2533 ซึ่งมีการปรับปรุง หลักสูตรบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับท้องถิ่น โดยเฉพาะวิชาในกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพ นักเรียนเห็นว่าวิชาในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตและกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้มาก แต่ไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชองเลย เพราะหลักสูตรไม่ได้กำหนดไว้ โรงเรียนได้จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม ให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ตามวัฒนธรรมไทย จัดห้องเรียน โดยไม่แบ่งแยกตามเชื้อชาติ แต่ให้เรียนร่วมกัน ซึ่งไม่มีปัญหาขัดแย้งทางเชื้อชาติ ครูทุกคนเป็นคนไทย และไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับชนต่างวัฒนธรรมมาก่อน ปัญหาการเรียนการสอนในโรงเรียนคือ สอนไม่ทันตามหลักสูตรขาดแคลนอุปกรณ์การสอน นักเรียนมีปัญหาด้านภาษา ทำให้เรียนช้า ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น เพราะพูดภาษาชองที่บ้านและพูดภาษาไทยที่โรงเรียน แต่ทาง โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมเสริมเพื่อช่วยให้นักเรียนเรียนได้ดีขึ้น ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนด้วยกัน นักเรียนกับครู ครูกับผู้ปกครอง และผู้ปกครองกับโรงเรียนไม่มีปัญหาเลย ผู้ปกครองมีทัศนคติที่ดีต่อครูและโรงเรียน ผลการเรียนของเด็กชองไม่ต่างจากเด็กไทย การลาออกกลางคันและตกซ้ำชั้นมีน้อยมาก ส่วนมากเมื่อจบการศึกษาระดับประถมศึกษา แล้วนักเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาถึงร้อยละ 98 โรงเรียนมัธยมศึกษาที่ไปศึกษาต่อกันมากคือ โรงเรียนคลองพลูวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมประจำตำบลแห่งเดียวในพื้นที่สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการอยู่ห่างจากโรงเรียนวัดคลองพลู 3 กิโลเมตร เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในปีการศึกษา 2542 และจะมีถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีต่อไปมีครู 16 คน มีนักเรียน 195 คน สอนตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ. 2521 ปรับปรุงพ.ศ. 2533 และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2524 ปรับปรุง พ.ศ. 2533 ไม่มีการปรับหลักสูตร แต่มีการเพิ่มเติมเนื้อหา เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เพียงพอที่จะไปศึกษาต่อระดับสูงขึ้น โรงเรียนได้จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมเป็นแบบไทย ไม่มีเอกลักษณ์ของชาวชองเลยและในหลักสูตรก็ไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชอง นักเรียนต้องการรู้เรื่องเกี่ยวกับชองบ้าง เพื่อเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพราะยอมรับว่าตนมีเชื้อสายชอง  ปัญหาที่พบในโรงเรียนคือ สอนไม่ทันตามหลักสูตร เนื้อหาไม่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน ขาดวัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนและขาดแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม แม้ว่าครูทุกคนเป็นคนไทย แต่ก็ไม่มีปัญหากับนักเรียน นักเรียนด้วยกันก็ไม่มีความรู้สึกแบ่งแยกเรื่องเชื้อชาติ ผู้ปกครองยอมรับและมีทัศนคติที่ดีต่อโรงเรียนเพื่อให้ลูก หลานได้เรียนต่อในพื้นที่และส่งเสริมให้ลูกหลานเรียนต่อระดับสูงขึ้นด้วย เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว นักเรียนส่วนมากไปศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งที่โรงเรียนเดิมและโรงเรียนในตัวจังหวัด นักเรียนชั้นมัธยมมีปัญหาด้านภาษาน้อยกว่าชั้นประถม เพราะพูดไทยได้ชัดขึ้นและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างจากเด็กไทย 3. การศึกษานอกโรงเรียนของเด็กและราษฎรชาวชองในตำบลคลองพลูได้รับบริการจากหน่วยงานของรัฐไม่มากนัก เพราะเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นครั้งคราว แต่มีการถ่ายทอดและเรียนรู้วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ภาษา ประเพณี จากสถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา กลุ่มเพื่อน และกลุ่มสังคมในพื้นที่ วิธีถ่ายทอด คือการพูดคุยกัน ลอกเลียนแบบพฤติกรรม สอนกันเป็นกลุ่มย่อยภายในบ้าน ทำให้ยังคงรักษาและสืบทอดความเป็นชองอยู่ได้โดยตรง ปัญหาที่พบคือราษฎรไม่มีเวลาไปศึกษาอย่างเป็นทางการเพราะวัยแสงเวลาซึ่งต้องทำงานทำให้ไม่สนใจเรียน และความรู้บางอย่างขัดกับความเชื่อและวิถีชีวิตเดิม จึงไม่ยอมรับความรู้ใหม่และนิยมเรียนรู้กันเองอย่างไม่เป็นทางการมากกว่ารูปแบบที่เป็นทางการ 4. การพัฒนารูปแบบการศึกษาของ ชาวชองในตําบลคลองพลูตามนโยบายขยายการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีนั้น สามารถทำได้เพราะในพื้นที่มีโรงเรียนทั้ง 2 ระดับตั้งอยู่ และเด็กในพื้นที่ส่วนใหญ่ศึกษาต่อหลังจากจบการ ศึกษา 1 ภาคบังคับแล้ว แต่ควรปรับเนื้อหาและเพิ่มเติมเนื้อหาให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่รวมทั้งเพิ่มการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิต ควรนำวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ เช่น ประวัติความเป็นมาของชอง ประเพณีงานบุญ งานนมัสการพระพุทธบาท การละเล่นชักเช่ย การรักษาโรคด้วยสมุนไพร ภาษาและนิทานชอง ฯลฯ มาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นการรักษาและสืบต่อวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป และบูรณาการเข้ากับวัฒนธรรมไทย ได้อย่างกลมกลืน  The purpose of this research is to study the educational status, problems and its needs of) the Chong, both in and out of school for development of the fundamental education curriculum (Twelve years) in Tumbol Klongplu, Kao Kitchagoot District, Chantaburi Province. The methods used for this research are documentary analysis and field work with an emphasis on participant observation, in depth interview and participant activities of key informants such as monks, school teachers and principals, educational administrators, students, parents and government officials in the area. The research findings are as follows: 1. Chong at Tumbol Klongplu, Kao Kitchagoot District who are the native people lived in the eastern region, especially in Chantaburi province, for a long time. They still speak a dialect of Chong language, have different culture and tradition from Thai culture but have received the Thai Nationality. Most of them are Buddhist but still respect the animism and superstition in daily life. According to the Province Development Plan, there are comfortable of transportation and communication from Tumbol Klongplu to Chantaburi, Chong's way of life has been assimilated into the Thai society to a degree that there are very little tradition left for themselves. It makes Chong's people adapt to the Thai tradition from time to time. The educational policy for Chong is the same as Thai's, that is the National Scheme of Education BE: 2535. 2. The formal education of Chong at Tumbol Klongplu has one medium sized primary school under the jurisdiction of the Office of National Primary Education Commission and has one medium sized secondary school under the jurisdiction of the General Education Department, Ministry of Education. The primary school, namely Wat Klongplu, consists of 314 students, 14 teachers and is responsible for teaching early childhood level up to prathom 6. The curriculum used in this school is the Standard Primary Curriculum B.E. 2521 (Amended in B.E.2533). There is a low level of the content modification in the curriculum to suit the local needs and circumstances of the Chong. However, students' opinion is that the subject in supported life-experience group and the one in supported habit-character group are very useful for daily life. Moreover, there are no contents concerning Chong's tradition and culture in the curriculum and the school environment is culturally Thai. There is no obvious Chong identity in the school. All of teachers are Thai and have no experience about the Chong.  For the teaching and learning processes in school, students are not divided into groups according to their ethnic differences. In a classroom, it consists of both Thai and Chong races but the conflicts have never been occurred. The problems of teaching and learning are the unsuitable curriculum as well as lack of instructional equipment and the language problem especially in the first few grades because the students speak Chong at home and speak Thai at school. One of the solutions is organized by activities as a leisure Generally, there are good relationships among students, students and teachers, teachers and parents, parents and school. Parents have a positive attitude toward teachers and school. The Chong's scholastic achievement is on the average, the same level as Thai students. The rate of drop outs is low and 98 percent of students have the opportunity for further education at the secondary level.  The secondary school, namely Klongplu Wittaya, is the only local secondary school in the area, located 3 kilometers from the primary school to the north, consists of 195 students, 16 teachers and is responsible for teaching mathayomsuksa 1 level up to mathayomsuksa 5 in the academic year 2542. Mathayomsuksa 6 will be established in the next academic year. The curriculum of junior secondary level (M.S. 1-3) used in this school is the Standard Secondary Curriculum B.E. 2521 (Amended in B.E. 2533) and the one of senior secondary level (M.S. 4-5) is the Standard Secondary Curriculum B.E. 2524 (Amended in B.E. 2533). There is no modification of the content in the curriculum but the teacher added some academic issues for further study at the higher education. There are also no contents concerning Chong's culture and tradition and the school environment is traditionally Thai. Students need to know about Chong's history and culture for dissemination their background and they accept that races are Chong.  The problems of education in Klongplu Wittaya school are the unsuitable curriculum, lack of instructional instruments, supplementary books and knowledgable resources. Moreover, the number of teachers is insufficient. Also, they do not have enough time to prepare and construct teaching aids. According to the students, they think that the content is not useful for daily life but it is worth for further studying at the higher education Level. All of teachers in this school are also Thai and they do not have experiences concerning the Chong but there are no problems with students. Normally, there is good understanding between teachers and parents. They also accept and have a good attitude to teachers and school as well as agree with students to further study in the higher levels both at the vocational college and at the senior high school level in the same school and in the province. 3. The nonformal education of the Chong in Tumbol Klongplu had been received very little attention from the governmental organizations for each year, because they occasionally work in the area. At present, the teaching and learning process of nonformal and informal education is transmitted from different social groups in the community. That is the Chong children learn mainly from their family, monks and peers groups. This includes the learning of Chong history, culture, belief in spirits, local wisdom and their spoken language. Most of the teaching methods used are teaching through daily life activities, conversation, explanation, behavioral imitation, and small group demonstration in their house. This is the direct way to preserve and transmit their culture to young generation.  The problems of nonformal education for Chong people is that it is not interesting to study due to the age, health and routine work as well as some subject contents make them confused and are opposite to their beliefs. 4. Suggestions for the development of education for the Chong in Tumbol Klongplu according to the policy of 12 years fundamental education are possible because of having the school both primary and secondary level situated in the same Tumbol. Most students have continued their education after completion of compulsory education. The curriculum should be added Chong's content concerning history, tradition, and culture and supplemented with training programs concerning different cultural people for teachers. Teaching and learning processes should be added the local wisdom and cooperation with people in the area of the cultural conservation, preservation, extension and the appropriateness of integration with Thai Society.

Downloads

Published

2024-03-29