การคัดลายมือและการสะกดคำภาษาอังกฤษในโรงเรียนประถม (3)

English Handwriting and Spelling in Elementary School (3)

Authors

  • ปิยนุช คนฉลาด

Keywords:

ภาษาอังกฤษ – การเขียน

Abstract

ฉบับนี้ยังคงเป็นการสะกดคำภาษาอังกฤษ โดยมีแบบฝึกหัดทบทวนความรู้เกี่ยวกับการสะกดคําที่ผ่านมา และแบบฝึกหัดใหม่ที่น่าสนใจ ซึ่งนอกจากจะช่วยในการสะกดคำแล้ว ยังเพิ่มทักษะเกี่ยวกับความหมายของคำศัพท์ การใช้คำที่มีความหมายตรงข้ามกัน พหูพจน์ และกริยาช่องสอง (อดีตกาล) โดยมีหัวข้อเรียงลำดับดังต่อไปนี้ 1. Studying the Words เป็นการฝึกทบทวนการสะกดคำของเสียงเริ่มต้นของคำ เสียงลงท้าย เสียงสละและรูปแบบของคำที่คล้ายกัน 2. Using Short Vowel Words เป็นการฝึกทักษะการใช้สระเสียงสั้น โดยให้มีการเติมคำเพื่อให้ได้ประโยคที่สมบูรณ์ และยังมีปริศนาคำไขว้เพื่อฝึกฝนการใช้คำ จะสังเกตว่า คำตอบที่เติมลงไปจะมีความหมายตรงกันข้าม (opposite meaning) กับคำที่ให้มา 3. Using Long Vowel Words เป็นการฝึกทักษะการใช้สระเสียงยาว มีการเติมคำลงในช่องว่างเพื่อให้ได้เรื่องราวที่สมบูรณ์ โดยอาศัยรูปภาพช่วยนึกคำ ส่วนปริศนาคำไขว้จะมีตัวอักษรนำหรืออักษรลงท้ายเพื่อช่วยให้นึกคำได้ง่ายขึ้น 4. Using Different Meanings เป็นการฝึกทักษะการใช้คําที่มีรูปเหมือนกันแต่มีความ หมายต่างกัน เช่นในตัวอย่าง She has a new dress. เธอมีชุดกระโปรงตัวใหม่ We dress in the morning and go to school. เราแต่งตัวตอนเช้าแล้วไปโรงเรียน จะเห็นได้ว่าคําว่า dress ในประโยคแรก เป็นนาม (noun) แปลว่า ชุดกระโปรง ส่วนในประโยคหลังเป็นกริยา (verb) แปลว่า แต่งตัว ในข้ออื่น ๆ ก็มีลักษณะเดียวกันกับตัวอย่างในแบบฝึกหัดนี้อาจยากเกินไปสําหรับนักเรียน ดังนั้น ครู จึงเริ่มต้นเข้าสู่บทเรียนโดยการแนะนําให้นักเรียน ฝึกการใช้พจนานุกรมอังกฤษแปลเป็นไทยก่อน แล้วชี้ให้เห็นว่า คําศัพท์ภาษาอังกฤษบางคํามี ความหมายได้หลายอย่าง นักเรียนจะได้เข้าใจได้ ง่ายขึ้น 5. Plurals เป็นการฝึกการใช้พหูพจน์ จะเห็นว่าได้สอดแทรกเรื่องของไวยากรณ์ (Grammar) ลงไปด้วย 6. Using Plurals ยังคงเป็นการฝึกทักษะการสะกดคำโดยจะเน้นที่คำลงท้ายด้วย -es ให้สังเกตว่า นามที่ลงท้ายด้วย s, sh, x, มีรูปพหูพจน์ที่ลงท้ายด้วย -es เวลาอ่านสะกดคำจะต้องมีเสียงเพิ่มอีกหนึ่งพยางค์ เช่น dress อ่านว่า เดรซ dresses อ่านว่า เดรซ-เสซ bus อ่านว่า บัส buses อ่านว่า บัส-สัซ จะมีบางคำที่ลงท้ายด้วย –es แต่เกิดจากการเติม –s ลงท้ายเพื่อเปลี่ยนรูปพหูพจน์ (เพราะรูปเดิมลงท้ายด้วย e) ก็จะมีหลักการอ่านสะกดคำเหมือนกับวิธีข้างบน เช่น house อ่านว่า เฮ้าซ houses อ่านว่า เฮ้าซ-เซส rose อ่านว่า โรซ roses อ่านว่า โรซ-เซส 7. Using Past Tenses เป็นการฝึกการสะกดคำที่ลงท้ายด้วย –ed ซึ่งเกิดจากการแปลงรูปคำให้เป็นกริยาช่องที่สองหรืออดีตกาล (past tense) ให้สังเกตว่า painted อ่านว่า เพ้น-เธ็ด helped ไม่อ่านว่า เฮ็ลป-เป็ด แต่อ่านว่า เฮ็ลป-ธ คือให้อ่านเหมือนมี t มาเป็นตัวควบกล้ำมาลงท้ายด้วย ตัวอย่างอื่น ๆ ได้แก่ cooked, washed talked ไม่อ่านว่า ท้อก-เก็ด แต่อ่านว่า ท้อก-ด คือให้อ่านว่าเหมือนมี d มาเป็นตัวควบกล้ำลงท้ายด้วยตัวอย่างอื่น ๆ ได้แก่ played, stayed 8. Using Past Tenses ในแบบฝึกหัดนี้จะพบกริยาช่องสองที่เปลี่ยนรูปแบบการสะกดไปเลย (ไม่ลงท้ายด้วย –ed) โดยมักเป็นการเปลี่ยนเสียงสระไปเป็นอีกเสียงหนึ่ง สำหรับฉบับนี้จะยากขึ้นกว่าเดิมเนื่องจากมีหลักไวยากรณ์เข้ามาประกอบในการฝึกทักษะการสะกดคำ หวังว่าครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนให้น่าสนใจ และง่ายขึ้นสำหรับนักเรียนของเรา อย่าเน้นการท่องจำอย่างเดียว แต่ให้ฝึกทักษะโดยการนำไปใช้จริง ๆ ในรูปแบบของแบบฝึกหัดและวิธีการสอนที่น่าสนใจจึงจะประสบความสำเร็จ

Downloads

Published

2024-04-02