การคัดลายมือและการสะกดคำภาษาอังกฤษในโรงเรียนประถม

Handwriting and Spelling in Elementary School

Authors

  • ปิยนุช คนฉลาด

Keywords:

ภาษาอังกฤษ – การเขียน

Abstract

การคัดลายมือภาษาอังกฤษ สมัยเป็นเด็กนักเรียน ประมาณ 40-50 ปี ล่วงมา ผู้เขียนเรียนภาษาอังกฤษเมื่ออยู่มัธยมปีที่ 1 (ระบบ 4 : 6 : 2 คือ เรียนประถมปีที่ 1 - ประถม ปีที่ 4 แล้วไปเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จากนั้นก็ไปเรียนมัธยมปีที่ 7-8 หรือเรียกเตรียมอุดมศึกษา) ครูสอนให้คัดภาษาอังกฤษด้วยปากกาคอแร้ง หัด คัดกันจริงจัง ส่วนมากจะเขียนตัวหนังสือสวยงาม ตามแบบฉบับของภาษาอังกฤษโดยแท้ สมัยปัจจุบัน กระทรวง ศึกษาธิการมีนโยบายเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษา อังกฤษเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม และเพื่อสื่อสารได้ตามความจําเป็น นับเป็นนิมิตรหมายอันดีที่นักเรียนได้ เริ่มเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แม้จะเป็นการคัดค้านกับผลงานวิจัยที่เคยมีมาก็ตาม คาดว่ากระทรวงศึกษาธิการจะไม่ทอดทิ้งภาษา แม่ (ภาษาไทย) อย่างแน่นอน  ผู้เขียนมีโอกาสได้อ่านชุดฝึกอบรมครูสอน ภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ รู้สึกชื่นชมยินดีที่ครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาได้พัฒนาสมรรถนะทางภาษา เทคนิคการสอน การจัดกิจกรรม การสอนที่ถูกต้องตามแบบฉบับภาษาอังกฤษ  ยุคนี้เป็นยุคของอินเตอร์เนท เป็นยุคของข่าวสารที่ติดต่อกันได้ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ผู้สอน ภาษาอังกฤษจึงควรรู้ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันไว้บ้าง เพื่อจะได้ไม่สับสนเมื่อเห็นตัวเขียนแบบอเมริกัน ส่วนตัวพิมพ์ภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ หรือภาษาอังกฤษแบบอเมริกันก็เขียนเหมือนกัน การเขียนภาษาอังกฤษสมัยนี้ ส่วนมากจะเห็น (นิสิต) เขียนด้วยตัวพิมพ์เล็ก ไม่ได้เขียนตัวเขียน บางทีก็เขียนปะปนกันทั้งตัวเขียน ตัวพิมพ์ อาจจะเป็นเพราะครูสอนภาษาอังกฤษ ไม่เน้นการสอนคัดอังกฤษ ครูบางคนไม่ถนัดสอนภาษาอังกฤษ แต่โดนบังคับให้สอน จึงสอนแบบขอไปที ต่อนี้ไปครูควรสอนนักเรียนเขียนให้เป็นระบบ ตัวพิมพ์เล็ก ก็ควรใช้คู่กับตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวเขียนเล็กก็ควรคู่กับตัวเขียนใหญ่ ผู้เขียนขอเสนอการเขียนตัวพิมพ์เล็ก และตัวพิมพ์ใหญ่ ตามรูปแบบการเขียนของ P.Z. Bloser ซึ่งลำดับการเขียนไว้ด้วยตัวเลขและลูกศร ทำให้ครูทราบว่าจะเริ่มต้นเขียนจากจุดใดก่อน เพื่อนำไปสอนนักเรียนได้ถูกต้อง

Downloads

Published

2024-04-04