วินัยเชิงบวกของเด็กปฐมวัยสู่การเรียนรู้บนฐานวิถีชีวิตใหม่

Positive Discipline of Early Childhood Toward Learning in New Normal

Authors

  • นัฏฐ์ดนุช จรครบุรีธนาดุล
  • ทนง ทองภูเบศร์
  • ชินวงศ์ ศรีงาม

Keywords:

วินัยเชิงบวก, การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย, ฐานวิถีชีวิตใหม่, Positive discipline, Learning of early childhood, New normal

Abstract

วินัยเชิงบวกของเด็กปฐมวัย ถือเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา เด็กปฐมวัยควรได้รับประสบการณ์ที่ดีจากสภาพแวดล้อมรอบตัว ซึ่งพ่อแม่ ครู หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง มีส่วนช่วยส่งเสริมและสนับสนุนระบบนิเวศการเรียนรู้ (Learning ecosystem) ของเด็กปฐมวัยผ่านการใช้วินัยเชิงบวกโดยยึดหลัก คือ 1) กำหนดความคาดหวังเชิงพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก 2) เคารพและเข้าใจความแตกต่างของเด็ก 3) สื่อสารอย่างมีเหตุผล รับฟัง และเคารพความคิดเห็นของเด็ก 4) เป็นแบบอย่างที่ดีและเหมาะสม และ 5) สนับสนุนพฤติกรรมที่ดี และส่งเสริมศักยภาพของเด็ก การเกิดการเปลี่ยนแปลงอันนำไปสู่ฐานวิถีชีวิตใหม่ ทำให้เด็กปฐมวัยเผชิญกับความท้าทายด้านการเรียนรู้ บวกกับการใช้สื่อเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยต้องปรับตัวตามสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นกัน ดังนั้น การสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัยถือเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคนในยุคของการเปลี่ยนแปลง ที่ควรเริ่มตั้งแต่เด็กปฐมวัยเพราะถือเป็นวัยที่มีพัฒนาการแห่งการเรียนรู้ที่รวดเร็วที่สุด อันจะส่งผลต่อการเสริมสร้างทักษะทั้ง 3 ด้าน คือ1) EQ (Emotional quotient): ความฉลาดทางอารมณ์ 2) SQ (Social quotient): ความฉลาดทางสังคม และ 3) MQ (Moral quotient): ความฉลาดทางศีลธรรม ซึ่งทักษะเหล่านี้ล้วนส่งเสริมการเรียนรู้บนฐานวิถีชีวิตใหม่ และสอดคล้องกับหลักการจัดการศึกษาทั่วโลก ที่มุ่งเน้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เกิดทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข และเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของสังคม  The positive discipline of early childhood is important to promote children's learning for their readiness in physical, emotional, social, and intellectual aspects. Early childhood children should have good experiences with the environment around them. The parents, teachers, or related persons are part of contributing to promoting and supporting the learning ecosystem through the principles of positive discipline to 1) set behavioral expectations for children, 2) respect and understand children's differences, 3) communicate reasonably, listen and respect children's opinions, 4) be a good and appropriate role model and 5) support good behavior and promote children's potential. The emergence of changes leading to a new normal exposes early childhood to challenges in learning. Moreover, the use of media or technology is rising which affects children's learning needs to be adapted according to the circumstances that arise as well. Therefore, building a good relationship between children is fundamental to creating positive discipline. However, positive discipline should be encouraged from early childhood because it is considered the age with the fastest learning development. This affects the development of skills in 3 areas: 1) EQ (Emotional Quotient): Emotional intelligence, 2) SQ (Social Quotient): Social intelligence, and 3) MQ (Moral Quotient): Moral intelligence. All these skills promote learning in the new normal and are in line with the principles of education management around the world that focus on children's self-learning, life skills, ability to live happily with others, and growing up to be quality citizens of society.

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2564, 12 กรกฎาคม). การเรียนยุค 'New normal' เปิดพื้นที่สร้าง 'Passion' เรียนรู้ตลอดชีวิต. https://www.bangkokbiznews.com

กลิ่นแก้ว มาตา, ชวนชม ชินะตังกูร, และ กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา. (2563). การจัดการศึกษาปฐมวัยในสองทศวรรษหน้า. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 12(1), 99-109.

กุลชาติ พันธุวรกุล, และ เมษา นวลศรี. (2562). เด็กปฐมวัยกับการเป็นพลเมืองดิจิทัล: โอกาสหรือความเสี่ยง. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(2), 1-23.

จิรังกูร ณัฐรังสี, ทศา ชัยวรรณวรรต, และ กมลเนตร วรรณเสวก. (2563). ก้าวข้ามความรุนแรงสู่การใช้วินัยเชิงบวกในการแนะแนวทางเด็กและเยาวชน. เวชสารแพทย์ทหารบก, 73(3), 173-179.

ณฐมน สีธิแก้ว, ศลิษา โกดยี่, เกศมณี มูลปานันท์, ขนิษฐา พิศฉลาด, ฉันทนา แรงสิงห์, อรนลิน สิงขรณ์, และสุริยเดว ทรีปาตี. (2565). การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อพฤติกรรม การเลี้ยงดูเชิงบวกของผู้ปกครองเด็กปฐมวัย และความคิดเชิงบริหาร ของเด็กปฐมวัยในจังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 32(3), 122-133.

ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, และ อมรา ธนศุภรัตนา. (2564). โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการ และสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร.

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่ (Design- Based New Normal): ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาพวิทยาจารย์ Journal of Teacher Professional Development, 1(2), 1-10.

ธิดา พิทักษ์สินสุข. (2562). วิกฤตปฐมวัยกระทบอนาคตชาติ. วารสารการจัดการศึกษาปฐมวัย, 1(1), 77-89.

ปริญญา ไทยลา, อังคณา อ่อนธานี, และ จักรกฤษณ์ จันทะคุณ. (2565). เด็กปฐมวัยกับการส่งเสริมการเรียนรู้แบบใหม่ในวิถี New Normal. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(1), 189-201.

ปิยนันท์ พูลโสภา. (2560). การพัฒนาการเล่น เพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(1), 20-27.

พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. (2562, 30 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 56ก. หน้า 5-16.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารศิลปการจัดการ, 4(3), 783-795.

มาลี บุญศิริพันธ์. (2563, 6 พฤษภาคม). รู้จัก "New Normal" ฉบับราชบัณฑิตยสภา. https://news.thaipbs. or.th/content/292126

รักษิต สุทธิพงษ์. (2560). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากับการพัฒนาครูไทยในยุคดิจิตอล. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 344-355.

ราชบัณฑิตยสภา. (2563, 14 พฤษภาคม). New Normal. https://royalsociety.go. th/new-normal/

วัยวุฒิ บุญลอย. (2564). นิวนอร์มัลในการพัฒนาเด็กตามพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. จันทรเกษมสาร, 27(1), 38-59.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2563, 20 มกราคม). ปัญหาพัฒนาการเด็กไทย กับแนวทางการพัฒนาที่สอดรับกับทักษะเด็กในศตวรรษที่ 21. https://www.hsri.or.th/media/news/detail/12472

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3 - 6 ปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563ก). รายงานการศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยของไทยและต่างประเทศ กรณีศึกษาประเทศญี่ปุ่น สิงค์โปร์ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563ข). รายงานการศึกษาสภาวการณ์การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565, 27 มกราคม). เกี่ยวกับ SDGs. https://sdgs.nesdc. go.th/

สุภาวดี หาญเมธี. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มติชน.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 33-42.

Berk, L. E. (2018). Development Through the Lifespan. Pearson.

Bozkurt, A. & Sharm, R. C. (2020). Emergency remote teaching in a global crisis due to the Corona Virus pandemic. Asian Journal of Distance Education, 15(1), 1-6.

Daniel, S. J. (2020). Education and the Covid-19 pandemic. Prospects, 49, 91–96.

Gershoff, E. T. (2013). Spanking and child development: We know enough now to stop hitting our children. Child development perspectives, 7(3), 133-137.

Gfroerer, K., Nelson, J., & Kern, R. M. (2013). Positive Discipline: Helping Children Develop Belonging and Coping Resources Using Individual Psychology. The Journal of Individual Psychology, 69(4), 296-297.

Koopman, C. (2019). How we become our data : A genealogy of the informational person. Chicago: University of Chicago Press.

Musthofiyah, L., Sopiah, S., & Adinugraha, H. (2021). The Implementation of Distance Learning on Early Childhood Education During New Normal Era of Covid-19. Journal of Educational Studies, 6(1), 32-47.

Nelsen, J. (1981). About Positive Discipline. http://Positivediscipline.com> about- Positive – discipline

Nelsen, J. (2006). Positive Discipline for Preschooler. New York: Penguin Random House Company.

Nelsen, J., Erwin, C., & Duffy, R. (2016). Positive Discipline. New York: Ballantine Books.

Nelsen, J., Lott, L., & Glenn, H. S. (2019). Positive Discipline. New York: Ballantine Books.

Simons, D. A. & Wurtele, S. K. (2010). Relationships between parents’ use of corporal punishment and their children's endorsement of spanking and hitting other children. Child abuse & neglect, 34(9), 639-646.

Soares, L., & Hernandez, J. (2022). Construction and Evidence of Validity of the Positive Discipline Parenting Skills Scale. Psicologia: Teoria e Prática, 24(1), 1–24.

Thakur, K. (2017). Fostering a positive environment in schools using positive discipline. Indian Journal of Positive Psychology, 8(3), 315-319.

United Nations Children’s Fund (UNICEF). (2019). A world ready to learn: Prioritizing quality early childhood education. New York: United Nations Children’s Fund.

Wanga, W. & Kuo, C. (2019). Relationships Among Teachers’ Positive Discipline, Students’ Well-being and Teachers’ Effective Teaching: A Study of Special Education Teachers and Adolescent Students with Learning Disabilities in Taiwan. International Journal of Disability, Development and Education, 66(1), 82-98.

Zuković, S., & Stojadinović, D. (2021). Applying positive discipline in school and adolescents’ self-esteem. International Journal of Cognitive Research in Science, Engineering and Education, 9(1), 1-11.

Downloads

Published

2024-05-28