การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นกลางโดยการใช้ผังมโนทัศน์สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

The use of Concept Mapping to Develop Intermediate Japanese Reading Skills of Japanese Major Students at Prince of Songkla University, Pattani Campus

Authors

  • นิเย๊าะ จาหลง

Keywords:

ทักษะการอ่าน, ผังมโนทัศน์, ภาษาญี่ปุ่นชั้นกลาง, Reading skill, Concept mapping, Intermediate Japanese

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้ผังมโนทัศน์ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการอ่านโดยใช้ผังมโนทัศน์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชา 415-321 การอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นกลาง โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาญี่ปุ่นโดยใช้ผังมโนทัศน์ จำนวน 4 แผน และบทอ่าน 4 เรื่อง 2) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนการอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นกลางโดยใช้ผังมโนทัศน์ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการเรียนรู้การอ่านโดยใช้ผังมโนทัศน์ แบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 17 ข้อการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าเฉลี่ย (average) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาญี่ปุ่นโดยใช้ผังมโนทัศน์ เท่ากับ 10.22 เปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาญี่ปุ่นโดยใช้ผังมโนทัศน์เท่ากับ 11.33 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการใช้ผังมโนทัศน์เพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาญี่ปุ่นในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (ค่าเฉลี่ย =3.94, S.D.= 0.44) โดยข้อคิดเห็นที่กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยมากที่สุด ได้แก่ กิจกรรมการอ่านภาษาญี่ปุ่นโดยใช้ผังมโนทัศน์เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกการอ่านด้วยตัวเองมากขึ้น กิจกรรมการอ่านโดยการใช้ผังมโนทัศน์ทำให้ผู้เรียนรู้ถึงประโยชน์ของการใช้ผังมโนทัศน์และการใช้ผังมโนทัศน์ทำให้ผู้เรียนวิเคราะห์และเข้าใจประเด็นต่าง ๆ ในเนื้อเรื่องได้อย่างชัดเจนขึ้น ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าการอ่านโดยการใช้ผังมโนทัศน์ช่วยพัฒนาทักษะการอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นกลางของผู้เรียนได้  The purposes of this research were to: 1) compare the students’ abilities in Japanese Intermediate reading before and after using concept mapping activities, and 2) indicate students’ opinions toward the Japanese Intermediate reading using concept mapping activities. Purposive sampling was implemented to select 18 undergraduate students enrolled in course 415-321 Intermediate Japanese Reading. The instrument used in research consist of 1) four lesson plans of Japanese Intermediate reading by using concept mapping and four reading topics. 2) a reading proficiency test, used as a pretest and posttest which included 20 multiple choice concept mapping questions, and 3) a 17-item questionnaire on opinions toward the use of concept mapping to enhance Japanese Intermediate reading. The data were analyzed by (average), standard deviation (S.D.) and t-test dependent. The results of the study revealed that the average score in Japanese Intermediate reading before learning concept mapping was 10.22. In comparison, the average score in the subject after using concept mapping was 11.33. A statistic significant difference was at the level of 0.05. The most approved opinion was on Japanese reading by using concept mapping which gave students an opportunity to focus on improving reading skills on their own. Secondly, the sample group agreed that reading activities using concept mapping made learners aware of the benefits of concept mapping and allowed them to utilize it for analyzing and comprehending points made in topics relatively clearly. These pointed out that concept mapping effectively contributed to Japanese reading skills.

References

จุฑารัตน์ พิมพ์ไทยสง. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เตวิช เสวตไอยาราม. (2551). การใช้ความรู้และประสบการณ์เดิมในการอ่านเพื่อความเข้าใจ กรณีศึกษาผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยที่มีความสามารถแตกต่างกัน. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรณ์, 42(2), 263-278.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน. องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภสินธุ์ แผลงศร. (2550). เทคนิคและวิธีสอนทักษะการอ่านภาษาญี่ปุ่นในฐานะภาษาต่างประเทศ. วารสาร เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ, (4), 191-202.

นาทพงศ์ หนูสวัสดิ์. (2560). เปิดประเด็น:พัฒนาการรู้เรื่องการอ่านอย่างไรให้สำเร็จ. วารสารครุศาสตร์, 45(3), 252-263.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เอส.พริ้นติ้งไทย แฟคตอรี.

แพรไหม คำดวง. (2562). การสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สําหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มัณฑนา สุขสงค์. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความและความคงทนในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่น โดยการจัดกิจกรรมการอ่านแบบ DR-TA สาหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรวรรณ สุขสวัสดิ์. (2561). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้ผังมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข. (2561). ประสิทธิผลของกิจกรรมการอ่านร่วมกันกับเพื่อนในวิชาการอ่านภาษาญี่ปุ่น. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 35(2), 68-81.

สุนิตรา สะทองอ้าย, และ สรณบดินทร์ ประสารทรัพย์. (2562). ผลของการใช้เทคนิคการสอนด้วยผังมโนทัศน์ในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารรัชต์ภาคย์, 13(31), 209-220.

เสาวลักษณ์ รัตนวิทย์. (2550). การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา:กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการพัฒนาการรู้หนังสือเพื่อปวงชน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโรตารี่แห่งประเทศไทย

อนุรักษ์ นวลศรี, และ อ้อมธจิต แป้นศรี. (2556). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสําคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์. Journal of Modern Learning Development, 7(5), 284-300.

อลงกรณ์ สิมลา (2561).การใช้แผนผังมโนทัศน์เพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อลงกรณ์ สิมลา, และ รินทร์ ชีพอารนัย. (2561). การใช้แผนผังมโนทัศน์เพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสาร Veridian E Journal, 11(3), 1348-1361.

ไอลดา ลิบลับ. (2557). การใช้กลวิธีผังมโนทัศน์ในการสอนการอ่านภาษาญี่ปุ่น: กรณีศึกษาผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้นชาวไทย. [วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไอลดา ลิบลับ. (2558). การใช้กลวิธีผังมโนทัศน์ในการสอนการอ่านภาษาญี่ปุ่น: กรณีศึกษาผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้นชาวไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 6(1), 262-270.

Ishiguro Kei. (2012). กิจกรรมการสอนการอ่าน. วารสารเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ, (9),1-18

Downloads

Published

2024-05-28