การศึกษาและพัฒนาการเรียนการสอนไวยากรณ์ประโยค“把”(bǎ) ของผู้เรียนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)

Study and Development of Instruction in Grammar “把” (bǎ) Sentences of Chinese Language Learners at Higher Education Level in the Eastern Economic Corridor (EEC)

Authors

  • รัฐพร ปานมณี

Keywords:

การศึกษาและพัฒนา, ไวยากรณ์ประโยค“把” (bǎ), ผู้เรียนภาษาจีน, ระดับอุดมศึกษา, เขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC), Study and Development, Grammar Sentence“把”(bǎ), Chinese Language Learner, Higher Education, Eastern Economic Corridor (EEC)

Abstract

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนาการเรียนการสอนไวยากรณ์ประโยค “把” (bǎ) ในภาษาจีนกลางผ่านสื่อการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแก่ผู้เรียนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในเขตพื้นที่ EEC โดยมีการพัฒนาชุดสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ประโยค“把” (bǎ) ในภาษาจีนกลางระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดสื่อการเรียนรู้ไวยากรณ์ประโยค“把” (bǎ) ในภาษาจีนกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนิสิตนักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) จำนวน 80 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้ไวยากรณ์ประโยค“把” (bǎ) ในภาษาจีนกลางที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าเท่ากับ 78.37/73.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 75/75 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ประโยค“把” (bǎ) ของผู้เรียนหลังเรียนด้วยสื่อการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้ไวยากรณ์ประโยค“把” (bǎ) ในภาษาจีนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นอยู่ในระดับดี  This research aimed to: 1) study and develop the teaching media package for teaching the“把”(bǎ) grammar sentence in Mandarin Chinese to Chinese language learners in higher education in Thailand's Eastern Economic Corridor (EEC), targeted a score of 75/75 on effectiveness criteria; 2) Compare pre- and post-instruction learning achievement in "把"(bǎ) sentences, and 3) Investigate learner satisfaction with the "把"(bǎ) grammar sentence teaching media package. The sample in this study included 80 first-year undergraduate students from 3 educational institutes in ECC (2024 academic year). Data analysis employed means, standard deviations, and t-tests. The research results reveal that: 1. The efficiency of the teaching media package for teaching “把”(bǎ) grammar sentences in Mandarin Chinese achieved an effectiveness rating of 78.37/83.75, exceeding the set criteria of 75/75. 2. The learners’ learning achievement after learning the “把” (bǎ) grammar sentence through the teaching media package was higher at the statistically significant point of 0.01. 3. The learners’ satisfaction towards the teaching media package in teaching “把” (bǎ) grammar sentences in Mandarin Chinese was at a good level.

References

กชนันท์ เข็มสกุลทอง, ศาวพา บัวศรี, และนุจรีย์ สีแก้ว. (2562). การพัฒนาทักษะการออกเสียง โดยใช้ ชุดฝึกการอ่านออกเสียงสัทอักษรพินอิน สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนปาง ศิลาทองศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครุศาสตร์ศึกษาครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2562 (น. 21-30). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสําหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิดานันท์ มลิทอง. (2546). เทคโนโลยีการศึกษา:สื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือกรมวิชาการ.

เกตมาตุ ดวงมณี. (2549). ภาษาจีนสําคัญอย่างไรในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารดวงแก้ว, 11(2), 127–126.

ครองขวัญ รอดหมวน. (2562). อีอีซีบูมเศรษฐกิจภาคตะวันออก. สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/main/detail/25873?read_meta=%7B%22label%

จรัสดาว อินทรทัศน์. (2539). กระบวนการที่คำกริยากลายเป็นคำบุพบทในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์, สมเชาว์ เนตรประเสริฐ, และ สุดา สินสกุล. (2520). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: คณะ ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฏฐ์คนันท์ พัดศรี. (2559). การพัฒนาสื่อการจัดการเรียนรู้บนเว็บ เรื่องการสนทนาภาษาจีนในชีวิตประจําวัน สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, กรุงเทพฯ.

ตรีศูล เกษร, ศุภกร ทาพิมพ์ และอนงครัตน์ บังศรี. (2562). การวิเคราะห์เปรียบเทียบวากยสัมพันธ์ ประโยคที่ใช้บุพบท “ba” ในภาษาจีนและ “นำ” ในภาษาไทย. วารสารร่มพฤกษ์, 37(2), 92-102.

ถนอมศรี ฟองอรุณรุ่ง. (2563). คอลัมน์นอกรอบ. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/columns/news-476930.

ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2549). การสอนภาษาอังกฤษ. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นภาลักษณ์ ตั้งอรุณศิลป์. (2559). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนวิชาภาษาจีนพื้นฐาน เพื่อพัฒนาการจําอักษรจีนโดยใช้เทคนิคมอร์ฟฟิ่งร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุริวิยาสาส์น.

ปราณี วานิชเจริญธรรม. (2524). การศึกษาพื้นความรู้ภาษาอังกฤษด้านการอ่านและการใช้ภาษาของนิสิตปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สุพรรณี อาศัยราช, นันทวดี วงษ์เสถียร. (2557). การพัฒนาบทเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแบบเน้นภาระงานโดยใช้ เอกสารจริงด้านสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา. (รายงานวิจัย) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นจากhttp://www.royin.go.th/dictionary/

หทัยรัตน์ ประทุมสูตร. (2542). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนจังหวัดพิษณุโลก (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ภัทรา นิคมานนท์. (2539). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.

มาลินี ณ นคร. (2553). การสร้างแบบเรียนเรื่องตัวสะกดภาษาไทยสําหรับชาวต่างชาติ (สารนิพนธ์ศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน. (2539). การสอนวิชาภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ล้วน สายยศ, และ อังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ณัฏฐ์คนันท์ พัดศร. (2560). การพัฒนาสื่อการจัดการเรียนรู้บนเว็บ เรื่อง การสนทนาภาษาจีนในชีวิตประจำวัน สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, กรุงเทพฯ.

สุธินี สุขตระกูล. (2526). วิธีวิเคราะห์และเปรียบเทียบภาษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสี่ยว อานต้า. (2547). ไวยากรณ์จีน. กรุงเทพฯ: ทฤษฎี.

อนุมานราชธน, พระยา. (2522). นิรุกติศาสตร์. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.

Hornby, A. F. (2000). Oxford Advance Learner's Dictionary. (6th ed.). Oxford: Oxford University.

陈凯(2014).汉语比较句语义和语用对比分析(硕士论文).云南师范大学:昆明市.

韩容洙(1998).对韩语教学的介词教学.汉语学习,第六期.

黄伯荣,廖序(2011).现代汉语.北京: 高等教育出版社.

刘晓玲(2011).“把”字句在对外汉语中的教与学.语言教学研究,(5),127-128.

齐沪扬(2005).对外汉语教学语法(硕士论文).复旦大学:上海市.

吴素兰(2007).从中泰对比看泰国学生汉语常用介词的习得与教学(硕士论文). 苏州大学:苏州市.

杨加印(2009).谈谈汉语的比较句.孔子学院(中西文版),18,28-32.

周小兵(2012).对外汉语教学导论.北京:商务印书馆.

Downloads

Published

2024-07-23