การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาคร

Authors

  • อรอนงค์ อุ่นแก้ว
  • ภัฐธีร์ตา วัฒนประดิษฐ์
  • สมพงษ์ ปั้นหุ่น

Keywords:

แบบทดสอบ, แบบวินิจฉัย, การอ่านเพื่อความเข้าใจ, การอ่านภาษาอังกฤษ, การอ่าน

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบทดสอบวินิจฉัยความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ 2) เพื่อหาคุณภาพด้านความตรงตามเนื้อหา (Content validity) ความยาก (Difficulty) อำนาจจำแนก (Discrimination) ความตรงตามสภาพ (Concurrent validity) ความเที่ยง (Reliability) 3) เพื่อหาเกณฑ์การวินิจฉัยและสร้างคู่มือการใช้แบบทดสอบ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 643 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวินิจฉัยความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 5 ฉบับ ฉบับละ 20 ข้อ รวม 100 ข้อ ผลการวิจัยปรากฏว่า แบบทดสอบวินิจฉัยทั้ง 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 ความเข้าใจในเนื้อหา 20 ข้อ ฉบับที่ 2 การเชื่อมโยงองค์ความรู้ 20 ข้อ ฉบับที่ 3 การสะท้อนกลับของคำตอบ 20 ข้อ ฉบับที่ 4 การตีความ 20 ข้อ และฉบับที่ 5 การวิเคราะห์ประเมินค่าเนื้อหา 20 ข้อ ค่าความตรงตามเนื้อหามีค่า IOC ตั้งแต่ .80 – 1.00 มีค่าความยากตั้งแต่ .41 – .76 ค่าอำนาจจำแนกใช้สูตรของ Brennan มีค่าตั้งแต่ .51 – .78 ค่าความตรงตามสภาพใช้สูตรสหสัมพันธ์ของ Spearman มีค่าตั้งแต่ .72 – .87 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนค่าความเที่ยงใช้สูตรของ Livingston มีค่าตั้งแต่ .92 – .93 สำหรับคะแนนจุดตัด หาโดยวิธีของ Angoff แต่ละฉบับ เท่ากับ 12 คะแนน จากคะแนนเต็ม ฉบับละ 20 คะแนน             The objectives of this research were: 1) to construct an English reading comprehension diagnostic test, 2) to validate the content validity, the difficulty, the discrimination, the concurrent validity and the reliability of the tests 3) To determine cut off score and user manual. The sample consisted of 643 grade 7 students in schools under the department of local administration in Samutsakhon, selected by Stratified Random Sampling. The research instruments were 5 sets of 4 - choice English reading comprehension diagnostic test, each set consisted of 20 items, total was 100 items. The research results were that the English reading comprehension diagnostic test consisted of 5 sets which were the understanding test, the making connections with existing knowledge test, the reflecting upon responses test, the engaging with the text test and the critically evaluating test. Each test comprised 20 items. The content validity of the English reading comprehension diagnostic test ranged from .80 – 1.00. The difficulty index of each item ranged from .41 – .76. The discrimination index calculated by Brennan Method and it ranged from .51 –.78. The concurrent validity calculated by Spearman Correlation Coefficient ranged from .72 – .87 with statistically significant difference at the .01 level. The reliability of each sub-test was calculated by Livingston Method ranged from .92 – .93. The cutting score calculated by Angoff’s Method of each sub-test was 12 points from 20 points. The diagnostic results show that the topics students misunderstood the most were the topics on critically evaluating the text.

Downloads

Published

2021-05-05