การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในจังหวัดสมุทรสาคร
Keywords:
แบบทดสอบวินิจฉัย, คณิตศาสตร์, การแยกตัวประกอบ, พหุนามดีกรีสองAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในจังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อหาคุณภาพด้านความตรงตามเนื้อหา (Content validity) ความยาก (Difficulty) อำนาจจำแนก (Discrimination) ความเที่ยง (Reliability) 3) เพื่อสร้างคู่มือแบบทดสอบวินิจฉัยในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และวิธีหาคะแนนจุดตัด 4) เพื่อวินิจฉัยข้อบกพร่องของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 900 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 1 ฉบับ มีจำนวน 70 ข้อ ผลการวิจัยปรากฏว่าแบบทดสอบวินิจฉัยคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 มีค่าความยากตั้งแต่ 0.41 ถึง 0.72 ค่าอำนาจจำแนกใช้สูตรของ Brenan มีค่าตั้งแต่ 0.50 ถึง 0.81 ค่าความเที่ยงใช้สูตรของ Livingston มีค่าเท่ากับ 0.97 มีคะแนนจุดตัดหาโดยวิธีของ Angoff เท่ากับ 41 คะแนนจากคะแนนเต็ม 70 คะแนน พบว่า นักเรียนมีข้อบกพร่องมากที่สุดในเรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างกำลังสอง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์ The objectives of this research were 1) to construct a mathematics diagnostic test on second degree polynomial factorization for grade 8 students in schools in Samutsakorn province, 2) to validate the content validity, the difficulty, the discrimination and the reliability of the test, and 3) to create a diagnostic test manual for learning mathematics and how to find the cut-off points. 4) to diagnose the deficiencies of the learner. The sample consisted of 900 students who were selected by technique from grade 8 students in Samutsakhon. The research instruments was a set of 70 mathematic diagnostic test questions requiring the students the choose their best answer among 4 choices. The results of this research were the content validity of the mathematic diagnostic test was ranged from 0.80-1.00; the difficulty index of each item ranged was from 0.41-0.72, the discrimination index calculated by Brenham method was ranged from 0.50-0.80, and the reliability of precision calculated by Livingston valuable equal to 0.97. The cutting score using Angoff’s method was 41 points from 70 points. The diagnostic results found that the topics students misunderstood the most were the topics on factorization of two degree poly nomials that are squared as were as factorization of the second degree poly nomial that is completely square.Downloads
Issue
Section
Articles