ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงต่อพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ของนิสิตปริญญาตรี

Authors

  • ศวรรยา ธนสุวรรณธาร
  • ทรงวุฒิ อยู่เอี่ยม
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล

Keywords:

การปรึกษากลุ่ม, ทฤษฎีเผชิญความจริง, พฤติกรรม, การติดเกม, เกมออนไลน์, นิสิตปริญญาตรี

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงต่อพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ของนิสิตปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนิสิตปริญญาตรีที่มีคะแนนแบบทดสอบการติดเกมออนไลน์ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 16 คน และสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แบบทดสอบการติดเกมออนไลน์และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริง กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริง สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ รวมเป็น 12 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที กลุ่มควบคุมดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ประจำวันตามปกติ การเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง และระยะหลังการทดลอง จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในระยะหลังการทดลอง และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยกลุ่มทดลอง ระหว่างระยะเวลาก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ผลการวิจัยพบว่า นิสิตที่ได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริง มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ ระยะหลังการทดลองต่ำกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และนิสิตที่ได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริง มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ในระยะหลังการทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05           The purpose of this research was to study the effects of reality group counseling on undergraduate students’ game addiction behavior. The sample group used in the study was 16 undergraduate students with a score of game addiction test criteria and simple randomly divided into 2 groups as experimental group and control group, each group of 8 people. The research materials were Game Addiction Screening Test and reality group counseling theory program. The intervention was administered 3 session a week for 4 weeks, for a total of 12 session, 60 to 90 minutes each time. Students in the control group conducted activities in daily life as usual. Data collection divided into 2 phases: pretest and posttest. Then the data were analyzed by independent t-test between the experimental group and the control group. Then analyzed the data for both posttest and pretest in the experimental group with the dependent t-test. The results found that the undergraduate students who was attended the reality theory group counseling had lower scores on Game Addiction Screening Test at The post test than the one they did in their pretest with statistical significant at .05 level, and the undergraduate students who was attended the reality theory group counseling had lower scores on Game Addiction Screening Test than those in the control group at posttest with statistical significant at .05 level.

Downloads