การวิจัยและพัฒนาวิธีการเพื่อนช่วยสอนโดยเพื่อนร่วมชั้นแบบจับคู่เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

Authors

  • พัดชา บุตรดีวงศ์
  • สมโภชน์ อเนกสุข
  • ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์

Keywords:

เพื่อนช่วยสอนแบบจับคู่, วิจัยและพัฒนา, ความต้องการจำเป็น, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาวิธีการเพื่อนช่วยสอนโดยเพื่อนร่วมชั้นแบบจับคู่เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวิทยาศาสตร์ จุฬาภรณราชวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของวิธีการเพื่อนช่วยสอนโดยเพื่อนร่วมชั้นแบบจับคู่ 2) พัฒนาวิธีการเพื่อนช่วยสอนโดยเพื่อนร่วมชั้นแบบจับคู่ และ 3) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ความต้องการจำเป็นตามองค์ประกอบของวิธีการเพื่อนช่วยสอนโดยเพื่อนร่วมชั้นแบบจับคู่เรียงลำดับมากไปหาน้อยดังนี้ 1) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน 2) คุณลักษณะของเพื่อนผู้สอน 3) ลักษณะของเนื้อหาในการจัดการเรียนรู้ 4) รูปแบบของกิจกรรม 5) สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และ 6) ระบบสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ 2. การพัฒนาวิธีการเพื่อนช่วยสอนโดยเพื่อนร่วมชั้นแบบจับคู่ มีดังนี้ 2.1) วิธีคัดกรองเพื่อนผู้สอนและเพื่อนผู้รับใช้แบบทดสอบความรู้วิชาคณิตศาสตร์ นำคะแนนที่ได้มาใช้คัดเลือกนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 ขึ้นไปเป็นกลุ่มผู้สอน และกลุ่มที่ได้ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมาเป็นกลุ่มเพื่อนผู้รับ 2.2) นวัตกรรมมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกระตุ้นและเสริมแรงให้นักเรียนเกิดความต้องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) ดำเนินการคัดกรองนักเรียนเป็นเพื่อนผู้สอนและเพื่อนผู้รับ 3) ดำเนินการเตรียมตัวเพื่อนผู้สอนและเพื่อนผู้รับ 4) จัดกิจกรรมเพื่อนช่วยสอน และ 5) ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.3) วิธีการประเมินผลการจัดกิจกรรมเพื่อนช่วยสอน ประกอบด้วยการประเมินผลเพื่อนผู้รับด้วยแบบฝึกหัดและแบบทดสอบย่อยระหว่างการจัดกิจกรรมเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ซึ่งผลสัมฤทธิ์ของการทดลองครั้งนี้นักเรียนที่เป็นเพื่อนผู้สอนมีความมั่นใจในการใช้ความรู้ของตนเอง และนักเรียนที่เป็นเพื่อนผู้รับมีคะแนนพัฒนาการเฉลี่ยร้อยละ 70.51 ซึ่งอยู่ในระดับสูง            This study focused on research and development using one-to-one peer tutoring procedure for enhancing the mathematical learning achievement of Matthayomsueksa 5 students of Princess Chulabhorn Science High school. The objectives of the study were; 1) to study the need assessment of one-to-one peer tutoring procedure for matthayomsueksa 5 students, and 2) to develop one-to-one peer tutoring procedure 3) to enhance the mathematical learning achievement of Matthayomsueksa 5 students. The findings of the study were; 1. The need assessment of matthayomsueksa 5 students to one-to-one peer tutoring procedure ordered by high to low PNI values were; 1) students’ interaction 2) characteristics of peer tutors 3) contents of the learning management 4) activity structure, learning environments and 5) supporting system for learning, and 2. The one-to-one peer tutoring procedure there were; 2.1) Classification students into group of tutors and tutees at 75th and 25th percentile rank of mathematical test scores. 2.2) Innovation included 5 steps there were: 1) stimulated and reinforced students to enhance their achievement 2) selected tutors and tutees 3) prepared students for tutor ability and tutee role 4) managed the one-to-one peer tutoring procedure, and 5) evaluation the achievement of students, and 2.3) Measurement and evaluation of peer tutoring procedure there were formative testing and pretest-posttest with summative testing. The findings of students’ achievement in this experiment were; the tutors used their knowledge confidently, the tutees had average developmental score at 70.51% and a high level.

Downloads