การศึกษาสภาพปัญหาของนิสิตปฏิบัติการสอน หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาจีน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Authors

  • วัฒนพร จตุรานนท์
  • ศศิชญา แก่นสาร
  • โสภี ชาญเชิงยุทธชัย
  • กิตติคุณ หุตะมาน

Keywords:

สภาพปัญหา, นิสิตปฏิบัติการสอน, การสอนภาษาจีน, หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของนิสิตปฏิบัติการสอน 2) ศึกษาสภาพปัญหาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนิสิตปฏิบัติการสอน จำแนกตามระดับที่ปฏิบัติการสอน และ 3) ศึกษาสภาพปัญหาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนิสิตปฏิบัติการสอน จำแนกตามขนาดสถานศึกษาที่ปฏิบัติการสอน โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนภาษาจีน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2562 ชั้นปีที่ 5 จำนวน 31 คน ที่อยู่ในระหว่างการปฏิบัติการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบประเมินค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับสภาพปัญหาของนิสิตปฏิบัติการสอน ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตปฏิบัติการสอนมีปัญหาการปฏิบัติการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (µ = 2.26, Ó = 1.05) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการปฏิบัติหน้าที่ครูเป็นด้านที่มีปัญหามากที่สุด รองลงมาคือด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านความสัมพันธ์กับผู้บริหารและครูในโรงเรียนตามลำดับ 2) ผลการศึกษาสภาพปัญหาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา จำแนกตามระดับ พบว่า นิสิตที่ฝึกปฏิบัติการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ( µ = 2.51, Ó = 0.83) ส่วนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับประถมศึกษา และระดับปฐมวัยมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย และ 3) ผลการศึกษาสภาพปัญหาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษาที่ปฏิบัติการสอนพบว่า นิสิตที่ฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ขนาดใหญ่พิเศษ และขนาดใหญ่ มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย ( µ = 2.33, Ó = 0.97 และ µ = 2.23, Ó = 0.61 ตามลำดับ) ส่วนนิสิตที่ฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาขนาดกลางมีปัญหาอยู่ในระดับน้อยที่สุด ( µ = 1.28, Ó = 0.00)           The purposes of this research were 1) to study the problems of the pre-service teachers, 2) to study the problems of teaching practicum categorizing according to the level of teaching, and 3) to study the problems of teaching practicum categorizing according to the size of the schools. The population used in the research was 31 pre-service teachers majoring in Chinese Language Teaching, Faculty of Education, Burapha University, academic year 2019. The tools used for data collection was a 5-rating scale questionnaire regarding the problems of teaching practicum. The results of this research were as follows: 1) Overall, the pre-service teachers had problems regarding teaching practicum at low level (µ= 2.26, Ó = 1.05), and when considering each aspects, they had most problems of teacher duties followed by learning management and relationship with the school administrators and teachers respectively. 2) The results of the teaching practicum problems classifies by the level of teaching showed that the pre-service teachers who practiced teaching at lower secondary level had problems at a severe level (µ = 2.51, Ó = 0.83), and for those who practiced teaching at upper secondary level, primary level and level of early childhood, they had the problems at low level. And 3) the results of the teaching practicum problems classifies by the size of the schools showed that the pre-service teachers who practiced teaching at the extra-large and large schools had problems at a low level (µ = 2.33, Ó = 0.97 and µ = 2.23, Ó = 0.61 respectively), and for those who practiced teaching in the medium sized schools, the problems was at the lowest level (µ = 1.28, Ó = 0.00).

Downloads