การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ลำดับกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • ศราวุฒิ พรภูเขียว

Keywords:

การสอนคณิตศาสตร์, การคิดวิเคราะห์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Abstract

         การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ลำดับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการของการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ 2) เพื่อประเมินรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์        ผลการวิจัยพบว่า        1. รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการ 4) หลักการตอบสนอง 5) ระบบสังคม 6) ระบบสนับสนุน โดยองค์ประกอบด้านกระบวนการประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ ขั้นทบทวนความรู้เดิม ขั้นเติมความรู้ใหม่ ขั้นทำความเข้าใจปัญหา ขั้นพิจารณาคำตอบ ขั้นประยุกต์ใช้ ขั้นสรุปและประเมินค่า โดยรูปแบบการสอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด        2. รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.94/82.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ และนักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05        3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก         This research was to develop instructional model for enhance analytical thinking and learning achievement on sequence of Matthayamsuksa 5 students. The purposes of this research were to 1) develop a mathematical instructional model 2) evaluate the mathematical instruction model and 3) study the satisfaction of students learned with mathematical instruction model.         The results of this research revealed that:         1. The mathematical instructional model including 1) principle, 2) objectives, 3) process, 4) responsibility strategy, 5) social systems, and 6) support systems. The process included 6 phases, Elicitation phase, Exploration phase, Empathetic Problem phase, Elaboration phase, Extension phase and Summary and Evaluation phase.         2. The effectiveness index of mathematical instructional model was 82.94/82.87, higher than criteria of 80/80. The posttest mean scores on analytical thinking and learning achievement were significantly higher than the pretest scores at the .05 level.         3. The students participated in this mathematical instructional model were highly satisfied with the model.

Downloads