ผลการปรึกษาทฤษฎีโครงสร้างครอบครัวต่อความเข้มแข็งของครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

Authors

  • นิรมล โตใย
  • ทรงวุฒิ อยู่เอี่ยม
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล

Keywords:

ทฤษฎีโครงสร้าง, ครอบครัว, ความเข้มแข็ง, ผู้ป่วย, มะเร็งเต้านม

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษาทฤษฎีโครงสร้างครอบครัวที่มีต่อความเข้มแข็งของครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งเต้านม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ได้แก่ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและสามี ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมะเร็ง ปี 2562 จำนวน 50 ครอบครัว ที่มีคะแนนความเข้มแข็งของครอบครัวต่ำที่สุด จำนวน 20 ครอบครัว และสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ แบบวัดความเข้มแข็งของครอบครัวและโปรแกรมการปรึกษาทฤษฎีโครงสร้างครอบครัวที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ครอบครัวกลุ่มทดลองได้รับการปรึกษาทฤษฎีโครงสร้างครอบครัว สัปดาห์ละ 4 ครั้ง ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ รวมเป็น 12 ครั้ง ครั้งละ 45-60 นาที ส่วนครอบครัวกลุ่มควบคุมดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันตามปกติ การเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลองและระยะหลังการทดลอง จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยกลุ่มทดลอง ระหว่างระยะเวลาก่อนการทดลองและหลังการทดลอง          ผลการวิจัยพบว่า ครอบครัวที่ได้รับการปรึกษาทฤษฎีโครงสร้างครอบครัวมีคะแนนเฉลี่ยต่อความเข้มแข็งของครอบครัว ระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ครอบครัวที่ได้รับการปรึกษาทฤษฎีโครงสร้างครอบครัวมีคะแนนเฉลี่ยความเข้มแข็งของครอบครัวในระยะหลังการทดลองสูงกว่าครอบครัวกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05            The purpose of this research was to study the results of Structural family therapy on the family strength of breast cancer patients’ family. The sample used in the study was the breast cancer patients’ family, including breast cancer patients and husbands. The sample was selected from 50 families were admitted to cancer hospital in year of 2019, with the lowest family strength score of 20 families and simple random sampling into 2 groups: experimental group and control group, 10 families each, The research materials used in the experiment were Family strength assessment test and Structural family therapy program developed by the researcher. The family of the experimental group received the Structural family therapy 4 session a week for 3 weeks, for a total of 12 sessions, which 45 to 60 minutes per session, while the control group conducted activities in daily life as usual. Data collection divided into 2 phases: pretest period and posttest period. Then the data were analyzed by independent t-test between the experimental group and control group. Then the data were analyzed for both pretest and posttest in the experimental group with the dependent t-test.           The results revealed that Families in the experimental group have an average score on family strength. The posttest period was significantly higher than the pretest period at the level of .05, and the family who received structural family therapy had an average score of family strength in the post-experimental period significantly higher than the control group family. Statistically significance at the level of .05

Downloads