ผลการเรียนแบบผสมผสานตามรูปแบบสะเต็มศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Keywords:
การเรียนแบบผสมผสาน, การคิดแก้ปัญหา, วิทยาศาสตร์, สะเต็มศึกษาAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างบทเรียนแบบผสมผสานตามรูปแบบสะเต็มศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เปรียบ เทียบการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานฯ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานฯ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานฯ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสีชมพูศึกษา อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น จำนวน 32 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนแบบผสมผสานตามรูปแบบสะเต็มศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบวัดการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนชนิดปรนัย 4 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยกึ่งทดลอง ในรูปแบบหนึ่งกลุ่มมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (T-Test Dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนแบบผสมผสานฯ ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.93/82.66 2) การคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานแบบผสมผสานฯ อยู่ในระดับ “มาก” The objectives of this research were 1) To construct of Blended Learning with STEM Education to enhance science problem solving thinking for Grade VIII Students 2) To compare scientific problem solving before and after learning of learners with integrated lessons 3) To compare the learning achievement before and after the study 4) To study the satisfaction of the learners with the integrated lessons. The Sample were Grade VIII Students in the first semester of academic year 2018, Sichomphusuksa School, Sichomphu District, Khon Kaen, province 32 students. Obtained by simple random sampling technique. The instruments used in this research were Blended Learning with STEM Education to enhance science problem solving thinking for grade VIII students, The science problem solving thinking evaluation test before and after were learning combination of four multiple choice options of 20 items, The achievement evaluation test before and after were learning combination of four multiple choice options of 20 items and The questionnaire of student’s satisfaction. This student pattern was the one-group pretest-posttest design. The statistics used in data analysis were Percentage, Mean, Standard Deviation and T-Test dependent. The research findings indicated that 1) Blended Learning had the efficiency 81.93/882.66 2) the students’ posttest scores on science problem solving thinking was higher than the pretest scores before the statically significant at the level .05 3) The students’ scores on posttest was higher than the pretest scores before the statically significant at the level .05 4) The students’ significant was at “high” level.Downloads
Issue
Section
Articles