การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4

Authors

  • ชนิดา คงสำราญ
  • ประยูร อิ่มสวาสดิ์
  • ธนวิน ทองแพง

Keywords:

การพัฒนารูปแบบ, ภาวะผู้นำ, แบบใฝ่บริการ, ผู้บริหารสถานศึกษา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พัฒนา และตรวจสอบรูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 โดยกำหนดระเบียบวิธีวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยสอบถามจากข้าราชการครู  จำนวน 346 คน 2) การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุงด้วยการสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน และ 3) การตรวจสอบรูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (average) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่ามัธยฐาน (Mdn.) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (I.R.)          ผลการวิจัยพบว่า          1. ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จากการสอบถามข้าราชการครู พบว่า โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.89, SD = .87)          2. รูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ที่พัฒนาขึ้นนั้น โดยใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง พบว่า ทั้งรอบที่ 1 และรอบที่ 2 มีค่าเฉลี่ย ทุกคุณลักษณะอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่ามัธยฐาน (Mdn.) รวมทุกคุณลักษณะเท่ากับ 4.98 และ  5.00 และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (I.R.) รวมทุกคุณลักษณะเท่ากับ .36 และ .00 ตามลำดับ         3. การตรวจสอบรูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จากการสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่า รูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติได้จริงทั้ง 10 คุณลักษณะ           The purposes of this research were to study, develop and examined the servant leadership model of the school administrators under The Secondary Educational Service Area Office 4. The research method consisted of 3 steps; 1) Study about the servant leadership of school administrators, 346 teachers were studied. 2) Development of the servant leadership model of school administrators was created by using Modified Delphi techniques participated by 17 experts; 3) Examination of the servant leadership of school administrators was used by focus group process were 8 experts participated. The statistical devices for data analysis were mean (average), standard deviation (SD), median (Mdn.) and interquartile range (I.R.).          The research findings were as follows;          1. From the questioning of the teachers about the servant leadership of school administrators, it was found that the overall and each characteristics were at a high level (average = 3.89, SD = .87).          2. The servant leadership model of school administrators had been developed by using the result of data analysis which was analyzed by Modified Delphi were improved for both 1st and 2nd rounds, with the average of every characteristics being at the highest score. The median of all characteristics were 4.98 and 5.00 and interquartile range of all characteristics were .36 and .00 respectively.          3. The examining of the servant leadership model of the school administrators, from a group discussion of experts who saw that the servant leadership model of the school administrators were appropriate, possibilities and can actually implement all 10 characteristics.

Downloads