ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพา

Authors

  • ธิดารัตน์ สวนเศรษฐ์
  • ระพิน ชูชื่น
  • ธนวิน ทองแพง

Keywords:

ความผูกพันต่อองค์กร, พนักงานสายสนับสนุนวิชาการ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงาน สายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา และ 2) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ ความผูกพันองค์กรของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพา จากปัจจัยด้านประสบการณ์ทำงาน ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 306 คน จากการใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie & Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธี Stepwise multiple regression analysis ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา ประกอบด้วย คุณภาพชีวิตในการทำงานและประสบการณ์ทำงาน โดยในภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานและประสบการณ์ทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับต่ำถึงระดับปานกลาง สมการพยากรณ์ความผูกพันองค์กรของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพา จากปัจจัยด้านประสบการณ์ทำงาน ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน ในรูปแบบคะแนนมาตรฐานมีดังนี้ Z = 3.22 + .09 (X4) + -.11 (X6) + .01 (X2) + -.15 (X12) + -.17 (X3) + .05 (X5) + .11 (X1) + .38 (X8) + .04 (X 9) + .01 (X10) + -.03 (X11) + .27 (X7)            The purposes of this research were; 1) to study the relationships between the factors that affected organization commitment and 2) to create the forecasting equation of organization commitment of academic supportive staffs of Burapha University derived from working quality and working experience factors. The research sample was collected from 306 academic supportive staffs of Burapha University by using Krejcie & Morgan sampling method. The instrument used for collecting sample was questionnaires. The statistics used in this study are frequency, percentage, mean, standard deviation (SD), Pearson’s product moment correlation coefficient, multiple regression analysis and multiple regression coefficient using stepwise multiple regression analysis. The findings of the study were as follows: 1) the working quality and working experience are factors Effecting Organization Commitment of Educational Supportive Staff Burapha University were at high level in both overall aspect, and 2) The relationships between working quality and working experience that affected organization commitment of academic supportive staffs of Burapha University were positive, the corresponding forecasting equation of standard scores is shown below: Z = 3.22 + .09 (X4) + -.11 (X6) + .01 (X2) + -.15 (X12) + -.17 (X3) + .05 (X5) + .11 (X1) + .38 (X8) + .04 (X9) + .01 (X10) + -.03 (X11) + .27 (X7)

Downloads