การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง “การจัดการขยะมูลฝอย” เพื่อส่งเสริมความรู้ จิตสำนึก และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย: กรณีศึกษานักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดแจงร้อน เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร
Keywords:
กิจกรรมการเรียนรู้, การจัดการขยะมูลฝอย’ จิตสำนึก, การมีส่วนร่วมAbstract
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและประเมินประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง “การจัดการขยะมูลฝอย” สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย และเพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความรู้ จิตสำนึก และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดแจงร้อน เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบทดสอบความรู้ จิตสำนึก และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งแบบทดสอบทั้งหมดมีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ .80-.87 แบบทดสอบความรู้มีค่ายากง่ายตั้งแต่ .30–.70 และมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .28–.71 ในกระบวนการศึกษาได้ทำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาด้านการจัดการขยะมูลฝอย และประยุกต์ใช้เกม พร้อมสื่อมัลติมีเดียสร้างกระบวนการเรียนรู้ เป็นเวลา 10 ชั่วโมง ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้วัดความรู้ จิตสำนึก และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ทางสถิติ เช่น Independent-Samples t-test, Paired-Samples t-test และ One-way Analysis of Variance ผลการศึกษาพบว่า 1) หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนมีความรู้ด้านการจัดการขยะมูลฝอย จิตสำนึก และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 2) ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า เพศหญิงมีความรู้สูงกว่าเพศชาย หลังการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ พบว่า นักเรียนที่มีชั้นการศึกษาต่างกัน หลังเข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้และจิตสำนึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ The objectives of this research were to design and evaluate the effectiveness of a learning activities plan for senior elementary students’ learning about solid waste management, and to investigate outcomes of participation in learning activities which enhanced levels of knowledge, awareness, and participation in solid waste management. The sample group was 70 senior elementary students studying in Wat Changron School, Ratburana district, Bangkok. The tools for data collection were knowledge achievement test, the test for measurement of awareness of solid waste management, and the test for measurement of participation in solid waste management. The reliability values of those tests were between .80 and .87. For knowledge achievement test, the difficulty indices were between .30 and .70, and the discrimination indices were between .28 and .71. The designed learning activities which included contents of solid waste management and application of game and Multimedia as learning tools were organized for 10 hours. Before and after the organization of all learning activities, students’ knowledge, awareness of, and participation in solid waste management were measured. Statistical tests such as Independent-Samples t-test, Paired-Samples t-test and One-Way ANOVA were performed. The results revealed that 1) students’ knowledge of solid waste management, awareness of, and participation in solid waste management reported after participating in the learning activities were significantly higher than those reported before participating in the learning activities 2) Before participating in the learning activities, female students had a significant higher knowledge than male students, but after participating in the learning activities, there was no a significant difference. Moreover, the result revealed that after participating in the learning activities, students with different educational levels had significant difference in knowledge and awareness of solid waste management.Downloads
Issue
Section
Articles