สมรรถนะหลักของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2

Authors

  • กนกพร โหงวเกิด
  • กัญภร เอี่ยมพญา
  • นิวัตต์ น้อยมณี

Keywords:

สมรรถนะหลัก, ผู้บริหาร, ประสิทธิภาพ, การบริหารงาน, งานวิชาการ, สถาบันศึกษา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะหลักของผู้บริหาร 2) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักของผู้บริหาร กับ ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา และ 4) ศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู จำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสมรรถนะหลักของผู้บริหารโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการทำงานเป็นทีม รองลงมาคือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการบริการที่ดี ส่วนสมรรถนะหลักด้านที่มีค่าเฉลี่ยในอันดับสุดท้าย คือ ด้านการพัฒนาตนเอง 2) ระดับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา รองลงมาคือ การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยในอันดับสุดท้าย คือ การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา 3) สมรรถนะหลักของผู้บริหารและประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับมาก (rxy = .689) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4) สมรรถนะหลักของผู้บริหาร ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการบริหารที่ดี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ร่วมกันทำนายประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการได้ร้อยละ 57.10 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Z’y = .202x1 + .153x2 + .567X4            The purposes of this research were; 1) to study the level of the school administrators’ core competencies 2) to study the level of academic administration efficiency in schools 3) to study the relationship between the school administrators’ core competencies and efficiency academic administration in schools, and 4) to study the school administrators’ core competencies affecting efficiency academic administration in schools. The samples consisted of 297 teachers. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient and multiple regression analysis (stepwise multiple regression) The research results were as follows: 1) The whole level of the administrators’ core competencies was at a high level ranking by the mean scores from high to low in the team building, result based management, service mind and self-development. 2) The whole level of efficiency academic administration in schools was at a high level ranking by the mean scores from high to low in curriculum development, academic support and coordination, evaluation and credit transfer, the development of an internal quality assurance system and educational standards, innovation use of educational technology and research for education quality development. 3) The relationship between the school administrators’ core competencies and efficiency academic administration in schools was significantly positive correlation (rxy = .689) at statistical significance of .05. and 4) The school administrators’ core competencies in team building, result based management and service mind efficiency affected academic administration in schools. It could be concurrently predicted at 57.10%. The predictive equation could be written in form of standard as Z’y = .202x1 + .153x2 + .567X4

Downloads