การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

The Development Efficiency Model of Internal Quality Assurance Management in the Secondary School under the Office of Basic Education Commission

Authors

  • สุชาดา สุขบำรุงศิลป์
  • ภารดี อนันต์นาวี
  • สถาพร พฤฑฒิกุล

Keywords:

model, management, รูปแบบ, ประกันคุณภาพภายใน

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้เทคนิคเดลฟาย สอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่เจาะจงเลือก (purposive sampling) จำนวน 17 คน 3) ตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษา ด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus group) จากผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน (Mdn.) และค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ (I.R.)          ผลการวิจัย พบว่า         1. รูปแบบการบริหารจัดการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษา มี 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) การวางแผน 2) การจัดการองค์การ 3) การนำ 4) การควบคุม 5) การปรับปรุง และจากองค์ประกอบ จะมีรายละเอียด รวมทั้งสิ้น 132 ประเด็น         2. การตรวจสอบรูปแบบ พบว่า รูปแบบที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ทั้ง 5 องค์ประกอบ          The objectives of the research study were to develop an efficiency model of internal quality assurance management in the secondary school under the Office of Basic Education Commission. The research and development procedure was divided into 3 steps: 1) review related literature to identify the conceptual framework, 2) development efficiency model by using Delphi Technique participated by 17 experts whom selected by purposive sampling, 3) the validate a model was used by focus group discussion from 8 administrators in Basic Education Schools. The statistics of data analysis were median (Mdn.) and interquartile range (I.R.).          The research results of the study reveal those:          1. The efficiency model of internal quality assurance management in the secondary school consisted of 5 components: 1) planning, 2) organizing, 3) leading, 4) controlling 5) improving and 132 issues.          2. The inspection found that validated model were appropriate and possible for the operation of all 5 components.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน : แนวทางการศึกษาและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2535). เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR เทคนิควิเคราะห์นโยบาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ ประสงค์สร้าง. (2553). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาอุดมศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ ศิริเมือง. (2555). รูปแบบการบริหารงานประกันคุณภาพตามวงจรคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการศึกษาและการเรียนรู้, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ทวีศักดิ์ ไทยประดิษฐ์. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโรงเรียนและกระบวนการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพผู้เรียนในสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ธนาชัย สุขวณิช. (2556). ทฤษฎีและแนวคิดการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). การจัดการสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 8 ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท -ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

บุญลือ มูลสวัสดิ์. (2546). กระบวนการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

พัชสิรี ชมพูคำ. (2552). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). “การวิจัยพัฒนารูปแบบ”. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 2(4), 1-16.

วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2557). การวิจัยเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีระศักดิ์ เชื้อเจ็ดตน. (2550). การบริหารจัดการตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามทัศนของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเวียงป่าเป้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชียงราย เขต 2. การศึกษาอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ศรีสุดา ประเคนรี. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามทัศนะของครูและผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดเทศบาล ในกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 5. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(1), 39-52.

สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: บริษัทจูน พับลิซซิ่ง.

สัญญา เคณาภูมิ และเสาวลักษณ์โกศลกิตติอัมพร. (2560). กรอบแนวคิดการศึกษาการวางแผนและการบริหารแผน. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 4(2), 407.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (ม.ป.ป.). รายงานการวิเคราะห์การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาให้รองรับการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560. เข้าถึงได้จาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1593-file.pdf.

Bateman, S., & Snell, A. (2013). Management: Leading & collaborating in a competitive world. New York: McGraw-Hill.

Brooks, E. A. (1996). Quality assurance and improvement planning and the education of special education. Dissertation Abstracts International, 60(4), 946-A. UMI No. 7182493.

Certo, S. C., & Certo, T. S. (2006). Modern management. New Jersey: Pearson/ Prentice Hall.

Mason, M. H., & Khedourri, F. (1985). Management. New York: Harper & Row.

Neville, L. B. (1998). Quality assurance and improvement planning in two elementary schools: Case studies in Illinois school reform. Urbana Champaign: Illinois State University.

Robbins, S. P., & Coulter, M. (2007). Management. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Schermerhorn, John R. Jr. (2005). Management (8th ed.). New York: John Wiley & Sons.

Shokraiefard A. (2011). Continuous quality improvement in Higher Education A case study in Engineering School of Boras University. Master of Science with a Major in Quality and Environmental. University of Boras. Sweden.

Townsend, R. (1997). Reinventing leadership: Strategies to empower the organization. New York: Harper Paperbacks.

Downloads

Published

2022-10-18