การพัฒนากิจกรรมซ่อมเสริมการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Keywords:
กิจกรรมซ่อมเสริม, การเรียนรู้แบบเชิงรุก, ชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนAbstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านและความสามารถด้านการเขียนภาษาไทยระหว่างก่อนและหลังเรียน และศึกษาพฤติกรรมการอ่านและการเขียนภาษไทย รวมทั้งศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่เรียนด้วยกิจกรรมซ่อมเสริมการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 9 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงตามความมุ่งหมาย (Purposive Sampling) จากนักเรียนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และสมัครใจร่วมเข้ารับการทดสอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมซ่อมเสริมการเรียนรู้แบบเชิงรุก จำนวน 18 แผน ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย จำนวน 9 ชุด แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่าน แบบทดสอบความสามารถด้านการเขียน แบบสังเกตพฤติกรรมการอ่านและการเขียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และโดยใช้สถิติ The Wilcoxon matched – pairs signed – ranks test ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยกิจกรรมซ่อมเสริมการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย มีความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีพฤติกรรมการอ่านและการเขียนที่บ่งบอกถึงความสนใจรวมทั้งมีความมั่นใจในการอ่านและการเขียนภาษาไทยมากขึ้น และมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด The purpose of this study were to compare Thai reading and writing abilities of grade 3 students with learning disabilities before and after studying and to study reading and writing behavior of students who learning by active learning repairing activities combination with Thai reading and writing skills training packages, and to study the satisfaction of grade 3 students with learning disabilities towards active learning repairing activities combination with Thai reading and writing skills training packages. Target group consists of 9 students with learning disabilities, grade 3, semester 1, academic year 2019, which were obtained by purposive sampling from students diagnosed with learning disabilities and voluntarily participate in this research. The instruments were 18 active learning repairing activities plans, 9 reading and writing training packages, reading ability test, writing ability test, observation form for reading and writing behavior and satisfaction questionnaire. Data analysis was the average, percentage, standard deviation and using the Wilcoxon matched - pairs signed - ranks test. The results showed that Grade 3students with learning disabilities who learning through active learning repairing activities together with reading and writing skills training packages had the ability to read and write after learning higher than before learning with significance at the .05 level, including reading and writing behavior that reflects the trend of continuous development also, students with learning disabilities in grade 3 are satisfied with the active learning repairing activities together with Thai reading and writing skills training packages had overall were at the highest level.References
ทิศนา แขมณี. (2550). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญล้อม ศรีคร้าม. (2549). ความพึงพอใจของนักเรียนในช่วงชั้นที่3 ของโรงเรียนรัฐบาล จังหวัดปทุมธานีที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษกับครูชาวต่างชาติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวลัยอลงกรณ์.
ผดุง อารยะวิญญู. (2544). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แว่นแก้ว.
พรรณิภา กิจเอก. (2550). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้นต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อ วิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.
พรพิไล เลิศวิชา และอัครภูมิ จารุกร. (2550). สมองวัยเริ่มเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สถาบันวิทยาการเรียนรู้.
ไพฑูรย์ อนันต์ทเขต. (2562). Visual Thinking คืออะไร. สืบค้นจาก http://celt.li.kmutt.ac.th/km/index.php/what-is-visual-thinking/.
ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก และคณะ. (2562). “แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ โรงเรียนบ้านโป่งน้าร้อน ตำบลเสริมกลาง อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง,” วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 12(1): มกราคม – มีนาคม.
มนัท สูงประสิทธิ์ และคณะ. (2561). โรคบกพร่องทางการเรียนรู้. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
มนัส บุญประกอบ และคณะ. (2543). การวิจัยและพัฒนาเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทางยกระดับคุณภาพวิทยาศาสตร์ศึกษา. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย. (2560). รายงานการประเมินตนเองโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย. เชียงใหม่ : เทศบาลนครเชียงใหม่.
ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์. (2543). ความบกพร่องในการเรียนรู้หรือแอลดี ปัญหาการเรียนรู้ที่แก้ไขได้. กรุงเทพ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ศิราณี สนั่นเอื้อ. (2559). การพัฒนารูปแบบชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยเกี่ยวกับ การฟัง พูด อ่าน เขียน วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด : โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ.
ศิริพร มโนพิเชษฐวัฒนา. (2547). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น เรื่อง ร่างกายมนุษย์. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริลักษณ์ หินแก้ว. (2551). รายงานการใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชุดพัฒนาผลสัมฤทธิ์และทักษะการ เรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สืบค้นจาก http://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=25019&bcat_id=16
สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2559). คู่มือการวัดและประเมินผลความสามารถในการอ่านและการเขียน” ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สมศักดิ์ ทองช่วย. (2559). เอกสารประกอบการจัดการเรียนการสอนหลักภาษาไทยในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาภาษาไทย โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์.
ไสว นามเกตุ. (2555). การปฏิบัติการพัฒนาการอ่านภาษาไทยเพื่อจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโปร่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วิทยานิพนธ์. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). เอกสารชุดแนวทางพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สุทิน ชนะบุญ. (2560). สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านสุขภาพเบื้องต้น. เอกสารวิชาการ. สำนักงานสาธารณสุขขอนแก่น ขอนแก่น.
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). หลักสูตรฝึกอบรมการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยกระบวนการ Coaching & Mentoring. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.