ผลการจัดการเรียนการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและสมรรถนะด้านการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Authors

  • วิไลวรรณ ชูปั้น
  • เกษมสันต์ พานิชเจริญ
  • จันทร์พร พรหมมาศ

Keywords:

การเรียนการสอน, สมรรถนะ, ด้านการสื่อสาร, คณิตศาสตร์

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) และ 2) เปรียบเทียบสมรรถนะด้านการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดประสิทธิเวช จังหวัดนครนายก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) 2) แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง และ 3) แบบวัดสมรรถนะด้านการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที             ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) มีสมรรถนะด้านการสื่อสารทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05             The purposes of this research were: 1) to compare mathematical reasoning ability of eighth grade students before and after learning using cognitively guided instruction with think-pair-share techniques, and 2) to compare mathematical communicative competence of eighth grade students before and after learning using cognitively guided instruction with think-pair-share techniques. The samples were 23 eighth grade students in the first semester of academic year 2020 at Watprasitthiwet School, Nakhon Nayok Province.They were selected by cluster random sampling. The research instruments used in this research were: 1) three lesson plans on cognitively guided instruction with think-pair-share techniques, 2) mathematical reasoning ability test on exponents, 3) mathematical communicative competence test on exponents. The statistics used for analyzing the collected data were mean, percentage, standard deviation and t-test for dependent sample.             Research results revealed that; 1) the eighth-grade students who were taught by cognitively guided instruction together with think-pair-share techniques had higher mathematical reasoning ability than before being taught at the .05 level of significance; 2) the eighth-grade students who studied using cognitively guided instruction with think-pair-share techniques had higher mathematical communicative competence than before studying at the .05 level of significance.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ฉวีวรรณ เศวตมาลย์. (2545). การพัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ภัทรอร อริยธนพงศ์. (2558). ผลการกิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิดที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

รัชนี ภู่พัชรกุล. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างวิธีสอนแบบนิรนัยร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดและวิธีสอนแบบปกติ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

วารี ธนะคำดี. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการให้เหตุผล ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวอย่างการประเมินผลนานาชาติ PISA: คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: 3-คิว มีเดีย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. สมุทรปราการ: แอด วานซ์ พริ้นติ้ง เซอร์วิส.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). สรุปผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015. สมุทรปราการ: แอดวานซ์ พริ้นติ้ง เซอร์วิส.

สุบรรณ ตั้งศรีเสรี. (2556). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบค้นพบจากการชี้แนะร่วมกับเทคนิค THINK-PAIR-SHARE ที่มีต่อความสามารถในการสื่อสารและความสามารถในการเชื่อมโยง ความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2560). ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(2), 1906-3431.

อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21: ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 8(1), 1-17.

อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2546). คู่มือปฏิบัติการเรียนการสอนยุคใหม่: การวิจัยเกี่ยวกับสมองแบบการเรียนและมาตรฐานตัวบ่งชี้ความสามารถในการสอนของครู. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

Carpenter, T. P., Fennema, E., Franke, M.L., Levi, L., & Empson, S.B. (2000). Cognitively guided instruction: A research-based teacher professional development program for elementary school mathematics. National Center for Improving Student Learning and Achievement in Mathematics and Science.

Kennedy, L. M. & Tipps, S. (1994). Guiding Children’ Learning of Mathematics 1994 (7thed). Belmont, California: Wadsworth.

Lappan, G.& Schram, P.W. (1989). Communication and Reasoning: Critical Dimensions of Sense Making in Mathematics. In New Directions for Elementary School Mathematics Yearbook. Virginia: The National Council of Teacher of Mathematics.

Lyman, F. (1981). The responsive classroom discussion: The Inclusion of All Students. Mainstreaming Digest. College Park, MD: University of Maryland.

Reys, R.E. (2001). Helping Children Learn Mathematics (6thed). New York: John Wiley and Sons.

Rowan, T. E. & Morrow, L. (1993). Implementing K-8 Curriculum and Evaluation Standard. Arithmetic Teacher. Virginai.

Sampsel, A. (2013). Finding the Effects of Think-Pair-Share on Student Confidence and Participation. Honors Projects, 28, 1-19.

National Council of Teacher of Mathematics. (1989). Curriculum and Evaluation Standards for School Mathematics. Reston, Virginia: National Council of Teacher of Mathematics.

Downloads

Published

2022-10-18