การศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา

Authors

  • นิติ นาชิต
  • พรทิพย์ เอกมหาราช

Keywords:

การศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้, ระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับการสะสมหน่วยกิตอาชีวศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา 2) พัฒนาระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา และ 3) ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และครูผู้รับผิดชอบระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 220 คน ผู้เชี่ยวชาญในการสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน ผู้เชี่ยวชาญในการสนทนากลุ่มเพื่อบรรณาธิการกิจระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา จำนวน 6 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการแสดงความคิดเห็นด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้ จำนวน 50 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับการสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษาของสถานศึกษา ตารางการวิเคราะห์เนื้อหา ประเด็นในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ประเด็นในการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับการสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษาของสถานศึกษาในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ โดยมีขอบเขตของเนื้อหาของระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 ประเด็น คือ แนวคิดเกี่ยวกับระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา โครงสร้างระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา การบริหารจัดการะบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา กลยุทธ์ในการดำเนินงานระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา และ แนวทางการจัดทำคลังเครื่องมือวัดและประเมินความรู้และประสบการณ์รายวิชาและระบบเครือข่าย และ 3) ความเหมาะสมของระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ของระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  The objectives of this research were: 1) to study the situation on the implementation of credit bank system of the colleges, 2) to develop credit bank system, and 3) to appropriateness study and feasibility study of credit bank system. The research methodology was qualitative collect data in which credit bank system from the purposive sampling on 9 participants and 6 participants and quantitative collect data in questionnaire from the purposive sampling on 220 specialists and 50 participants. The results showed that: 1) opinions toward credit bank system for vocational education of Thailand was at the high level, 2) credit bank system for vocational education consisted of 3 factors which were input, process, and output. The scope of credit bank system consisted of 6 topics which were concept on credit bank system, credit bank structure, credit bank system management, criteria and guidance on credit bank system, strategy on implementation of credit bank system, and guidance on the use of tool for validating knowledge and experience in each subject and its networking, and 3) the appropriateness study of credit bank system on vocational education was at the highest level and the feasibility study of credit bank system on vocational education was at the high level.

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1-23.

พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2551. (2551, 5 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 23 ก. หน้า 1-24.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2559). ระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(93), 250-262.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557). คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานเทียบโอนผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). สืบค้นจาก

https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_ link.php?nid=6422

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). แนวทางการพัฒนาระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank System): ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการศึกษา และพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

Downloads

Published

2022-10-18