การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
The Development of a Training Package Enhancing Management Competency of Administrators in Private Vocational Colleges Specifically Located in Eastern Economic Corridor
Keywords:
ชุดฝึกอบรม, สมรรถนะทางการบริหาร, ผู้บริหารอาชีวศึกษาเอกชน, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, EECAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้ชุดฝึกอบรมเพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินความต้องการจำเป็น (Training Needs) ด้านสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้แก่ สมรรถนะด้านภาษาต่างประเทศ สมรรถนะการบริหารสารสนเทศ และสมรรถนะในการทำงานข้ามวัฒนธรรม 2) ผลการพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ชุดฝึกอบรมมีความเหมาะสมเป็นไปได้และ 3) การศึกษาผลการใช้ชุดฝึกอบรมเพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก การหาประสิทธิภาพของชุดการฝึกอบรมเพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80.07/84.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 การทดสอบระหว่างฝึกอบรมและหลังฝึกอบรมของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พบว่า คะแนนทดสอบหลังการใช้ชุดฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การประเมิน ผลความพึงพอใจหลังใช้ชุดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยกลุ่มทดลอง มีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกอบรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด This research is a Mixed Methods Research. The purpose of this research is to develop and study the results of the use of training package to enhance the administrative competencies of administrators in private vocational colleges in Eastern Economic Corridor. The research findings found that 1) The need assessment result (Training Needs) of administrative competencies of administrators in private vocational colleges in Eastern Economic Corridor includes foreign language competency, Information Management Competency, and cross-cultural competency 2) The results of training package development for the administrative competencies enhancement of administrators in private vocational colleges in Eastern Economic Corridor. From the focus group discussion of senior experts, it was found that the training package was appropriate and possible and 3) The study on the result of training package usage to enhance the administrative competencies administrators in private vocational colleges in Eastern Economic Corridor. Finding the efficiency of training package for the administrative competency enhancement of administrators in private vocational colleges in Eastern Economic Corridor. The efficiency of E1/E2 is 80.07/ 84.96 which is higher than the determined standard criteria at 80/80. Testing during and after the training of administrators in private vocational colleges in Eastern Economic Corridor found that the post-test score after the training is higher than the pre-test score before the training. The finding is statistically significant at the .01 level. The evaluation of satisfaction after using the training package to enhance the administrative competencies of administrators in private vocational colleges in Eastern Economic Corridor found that the experimental group has the overall satisfaction with the training package usage in the highest level.References
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ. (2560). คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ. ที่ 2/2560 เรื่อง การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
นงนภัสส์ มากชูชิต. (2555). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการประเมินโครงการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(8), 89-103
วีระกานท์ ศรีสมัย. (2551). สมรรถนะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
สะไกร โสมาศรี. (2552). สมรรถนะในการบริหารจัดการสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สิริกร วัฒนธัญญาการ. (2554). การบริหารการจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2558). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
อนันต์ นามทองต้น. (2551). สมรรถนะ (Competency) : พลังแห่งการพัฒนางานสู่ความเป็นเลิศ. สืบค้นจาก: http://spv-pb2.phetchabun2.net/2.doc
Blancero. D., Boroski, J and Dyer, L. (1996). Key Competency for a Transformed Human Resources Organization: Result of a Field Study. Human Resource Management. 35(3). 383-403.
British Council. (2016). World Class Study in London: Postgraduate Information Evening. Imperial College London, King’s College London, SOAS University of London and UCL.
Hilberg, J. Scott. (2008). Undergraduate students Fluency with information and Communication Technology: Perceptions and Reality. Toese University: USA. Accessed February 20, 2010. Available from ProQuest http://Proquest.umi.com/
Mello, J. A. (2011). Strategic Human Resource Management. (3rd ed.). Ohio: South Western, Cengage Leaning.
Milnor, J. O. (2007). Globalization and World-Class Schools. Educ Horia, 86(1). 65-67.
Nadler, L. & Nadler, Z. (1991). The handbook of developing human resources. (2 nd ed.). London: John Willey & Sons.
Schein, E.H. (1992). Organizational culture and leadership. San Francisco: Jossey Bass.
Shi, Y., & Low, P. (2001). Cultural influences on Organizational process in international. Projects: Two case studies. Work study, 50(7), 276-285.
Vidheechroen, G. (2001). Effective Cross-Cultural Communication Strategies in International Business. Executive Journal. 21(4), 20-24.
Voorhees, R. (2001). Competency-Based Learning Models: A Necessary Future. New Directions for Institutional Research, 2001(110), 1-13.