การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสอนอ่านและเขียนภาษาไทย ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3
Development of Training Curriculum Enhancing Thai Language Reading and Writing Teaching Ability of Thai Language Teachers under Narathiwat Primary Educational Service Area Office 3
Keywords:
หลักสูตรฝึกอบรม, ความสามารถในการสอนอ่านและเขียนภาษาไทย, เจตคติ, กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสอนอ่านและเขียนภาษาไทย ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษานราธิวาส เขต 3 และศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่ไม่จบวิชาเอกภาษาไทย และสอนนักเรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง จำนวน 20 คน วิธีดำเนินการวิจัย มี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย 2 กลุ่มที่ไม่อิสระจากกัน และการหาค่าดัชนีประสิทธิผล ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ คือ สภาพปัญหาและความจำเป็น หลักการของหลักสูตรฝึกอบรม จุดมุ่งหมายของหลักสูตรฝึกอบรม เนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อประกอบการฝึกอบรม และการวัดและประเมินผลการฝึกอบรม ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนอ่านและเขียนภาษาไทย หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าดัชนีประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมเท่ากับ 0.6387 ผู้เข้ารับการ อบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.87 มีการนำความรู้ไปใช้วางแผนเตรียมการสอนอ่านและเขียนภาษาไทยไปปฏิบัติร้อยละ 84.41 และเจตคติที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด This study aimed to develop a training curriculum and investigated the effects of implementing the training curriculum enhancing the teaching of Thai language reading and writing for Thai language teachers in Narathiwat Primary Educational Service Area Office 3. The participants were 20 Thai language teachers selected through the inclusion criteria of having no educational qualification in Thai Language and currently teaching Thai-as-a-second-language students (TSL). The study was conducted in two phases: In Phase 1, the training curriculum development. In Phase 2, the curriculum implementation. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, dependent t-test, and Effectiveness Index (EI). The results revealed that : 1) The training curriculum enhancing the teaching of Thai language reading and writing for Thai language teachers in Narathiwat Primary Educational Service Area Office 3 was constructed with components of problems and necessities, principles, objectives, curriculum contents, activities, supplementary materials, and assessment. The curriculum draft was validated for suitability and produced a high mean score. 2) The curriculum was subsequently implemented and revealed that the post-training mean score of knowledge to teach Thai reading and writing was significantly higher than that of the pre-training at the .05 level with 0.6387 EI, suggesting that 63.87% of the trainees gained increased knowledge, the most of the participants (84.41%) further applied the obtained knowledge in their planning and instructional implementation for Thai reading and writing, and their attitudes towards the training curriculum were extremely positive.References
นาตยา ปิลันธนานนท์. (2545). จากมาตรฐานสู่ชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
มธุรส ประภาจันทร์ และคณะ. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการสอนอ่าน และการวินิจฉัยการอ่าน สำหรับครูระดับประถมศึกษาตอนต้น. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2554). จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา กระบวนทัศน์ใหม่ การพัฒนา. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือการสอนอ่านเขียน โดยการแจกลูกสะกดคำ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). รายงานผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test: RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563. สืบค้นจาก http://180.180.244.43/NT/ExamWeb/FrLogin.aspx
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). รายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2563. สืบค้นจาก http://180.180.244.43/NT/ExamWeb/FrLogin.aspx
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557) เอกสารประกอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรครูและศึกษานิเทศก์ด้านเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. (อัดสำเนา)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3. (2562). รายงานสรุปผลการนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (อัดสำเนา)
Kruse, K. (2008). Introduction to instructional design and the ADDIE model. Retrieved from http://www.e-learningguru.com/articles/art2_1.html
Oliva, P.F. (1992). Developing the Curriculum. (3rd ed). New York: Harper Collins.
Slavin, R. E. (1991). Student Team Learning: A Practical Guide to Cooperative Learning. Washington DC: National Education Association.
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt Brace and World.
Tyler, Ralph W. (1957). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: University of Chicago Press.