การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

The Learning Center Sufficiency Economy Administration Development Model in The Eastern Part Under The Office of Basic Educational Commission

Authors

  • อลิสา อินทร์ประเสริฐ
  • ประยูร อิ่มสวาสดิ์
  • สมนึก ทองเอี่ยม

Keywords:

การพัฒนารูปแบบการบริหาร, ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภาคตะวันออก, สถานศึกษาในภาคตะวันออก

Abstract

การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษารูปแบบการบริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) พัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหาร รองผู้บริหาร และครูผู้รับผิดชอบ ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปีการศึกษา 2562 จำนวน 17 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาสภาพการบริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การศึกษารูปแบบการบริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับองค์ประกอบขั้นตอน 5 องค์ประกอบ คือ (1) องค์ประกอบขั้นตอนการเตรียมความพร้อมในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในศูนย์การเรียนรู้ (2) องค์ประกอบขั้นตอนการจัดกิจกรรมโรงเรียนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (3) องค์ประกอบขั้นตอนการดำเนินการเปลี่ยนแปลง (4) องค์ประกอบขั้นตอนการจัดระบบการเรียนรู้และ (5) องค์ประกอบขั้นตอนการสร้างเครือข่ายและขยายผล 3) การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ยืนยันและเห็นชอบทั้ง 5 องค์ประกอบขั้นตอน  This research aimed to study the management a learning center based on the sufficiency economy philosophy to develop a learning center management model based on  the sufficiency economy philosophy and to examine the suitability of the learning center management model based on the sufficiency economy philosophy of educational institutions  in the Eastern region under the office of the basic education commission, ministry of education. The sample group consisted administrators and teacher of learning centers that adopted the philosophy of sufficiency economy. The results of the study are as follows: 1) The overall condition of the management of the learning center according to the philosophy of the sufficiency economy was in “The highest level” and the order of condition were to prepare for the use of the philosophy of the sufficiency economy in the learning center, organizing school activities and learners’ development activities, implementation of the change, organization of the learning system and building networks and expanding results. 2) The management model of the learning center based on the philosophy of sufficiency economy correlated with the elements, steps, and details of five operational process elements which were (1) the preparatory process elements to apply the philosophy of sufficiency economy in the learning center (2) the procedures for school activities and learner development activities (3) the transition process (4) the organization the learning system (5) networking and expanding results. 3) In the development of a learning center management model based on the sufficiency economy philosophy, professionals and experts confirmed and agreed on the elements, steps of the learning center management model.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องแนวทางการพัฒนาและประเมินสถานศึกษาพอเพียงเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.

ชัชวาล ทัชศิวัต. (2553). การวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, 8(1), 185 - 223.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปราณี หลำเบ็ญสะ. (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. ยะลา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ภูธนภัส พุ่มไม้. (2562). ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. สืบค้นจาก http://tps.comsci.info/suf/r_menu3.html

ศาลินา บุญเกื้อ และนันทกาญจน์ ชินประหัษฐ์. (2557). การถอดบทเรียนและวิเคราะห์อัตลักษณ์ ศูนย์การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ

ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2560). การขับเคลื่อนด้านการศึกษา. สืบค้นจาก http://www.sufficiency.nida.ac.th/

อรวรรณ ป้อมดำ. (2561). การขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรีเขต 2. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

Eisner. E. (1976). Educational connoisseurship and criticism: Their form and functions in Education evaluation. The Journal of Aesthetic Education, 10(3). 135-150.

Downloads

Published

2022-10-18