การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

The Professional Learning Community (PLC) to Enhance Creativity-based Learning Developing Model of Teachers in Basic Education

Authors

  • พีระ รวดเร็ว

Keywords:

การพัฒนารูปแบบ, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน, Developing model, Professional learning community (PLC), Creativity-based learning

Abstract

การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบและ 4) ประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ครูวิชาการ จำนวน119 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คนและครูผู้สอนนำร่อง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่น .909, .941, .914, .886 และคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมีค่า IOC ระหว่าง 0.80-1.00 สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด 2) รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนื้อหาของรูปแบบกระบวนการของรูปแบบ และการวัดและประเมินผลผลการตรวจสอบรูปแบบ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ครูที่เข้าร่วมชุมชนแห่งการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน มีผลการประเมินหลังการอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากการนำไปปฏิบัติพบว่า มีความถูกต้องความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์  The research on developing a professional learning community model to promote creativity-based learning among teachers in the basic education aimed to 1) investigate the current condition and needs of the professional learning community to enhance creativity-based learning of teachers in the basic education; 2) construct and validate a model; 3) test the model; and 4) evaluate the accuracy, suitability, feasibility, and usefulness of the implementation of the professional learning community model. The samples used in the study included 119 academic teachers, 9 experts, and the other 30 teachers who volunteered to be involved in this study. The research instruments were four questionnaires, with reliabilities of .909,.941, .914., .886, and a handbook of the professional learning community model to enhance teachers' creativity-based learning in the basic education with an IOC of 0.80-1.00. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation. The results of the research showed that: 1) the current state of PLC was at a medium level, and the need for PLC was at the highest level; 2) the model of the professional learning community to enhance creativity-based learning of teachers in the basic education were appropriated. The model consisted of 5 components: the principles, the purpose, the content, the process, measurement, and evaluation. The examined results of the model were at the highest level; 3) the evaluation results of the teachers who participated in the learning community and creative-based learning were at the highest level; 4) the results after implementing the professional learning community model enhancing creativity-based learning of teachers in the basic education were found to be accurate, possibility, and usefulness.

References

จุลลี่ ศรีษะโคตร. (2557). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและแนวทางการนำมาใช้ในสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 10(1), 34-41.

ทิศนา แขมมณี. (2559). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บังอร เสรีรัตน์. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร. (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ.

ประคอง รัศมีแก้ว. (2562). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สุพรรณบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3.

ปองทิพย์ เทพอารีย์ และมารุต พัฒผล. (2557). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับครูประถมศึกษา. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพ.

พรอรดี ซาวคำเขตต์. (2561). ศึกษาสภาพการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของบุคลากรทางการศึกษากลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.

โรงเรียนวัดหนองหอย. (2562). รายงานการประเมินตนเองของโรงเรียนวัดหนองหอย ปีการศึกษา 2561. ประจวบคีรีขันธ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1.

วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 23-37.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2558). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา: แนวคิดและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2559). แนวทางการส่งเสริม สนับสนุนเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพครู และ บุคลากรทางการศึกษาแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

อำนาท เหลือน้อย. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมาตรฐานสากล. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

อุบล หนูฤกษ์. (2563) .รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างสรรค์เป็นฐานโรงเรียนในเครือข่ายเกาะพะงัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี.

DuFour, R. (2007). Professional Learning Communities: A Bandwagon, an Idea Worth Considering, or Our Best Hope for High Levels of Learning. Middle School Journal (J1), 39(1), 4-8.

Hord, S.M. (1997). Professional Learning Communities: Communities of Inquiry and Improvement. Austin: Southwest Educational Development Laboratory.

Sergiovanni, T. (1994). Building community in schools. San Francisco.CA: Jossey Bass.

Downloads

Published

2022-09-23