การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
The Development of Educational Quality Management Model for The Excellence of Thairath Witthaya Schools Group Under the Office of Basic Education Commission
Keywords:
การพัฒนา, รูปแบบ, การบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ, โรงเรียนไทยรัฐวิทยา, Development, Model, Education Quality Management for Excellence, Thairath Witthaya SchoolsAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อตรวจสอบรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้เทคนิคเดลฟายจากผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 17 คนขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยการสนทนากลุ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ คน เงิน การบริหารจัดการและวัสดุอุปกรณ์ นำเสนอเข้าสู่กระบวนการ 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการนำองค์กร ด้านการวางแผนกลยุทธ์ ด้านการจัดการกระบวนการ ด้านการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล ด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ ด้านการวัดผล การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ด้านการมุ่งผลลัพธ์การดำเนินงาน นำสู่ผลผลิตที่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ส่งผลให้สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับ ผู้บริหาร ครู บุคลากรมีการพัฒนาการดำเนินงาน และนักเรียนมีคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิและให้ความเห็นชอบต่อรูปแบบและสามารถนำรูปแบบที่ได้ ไปใช้ในการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในลำดับต่อไป The objectives of this research were: 1) to develop a model of educational quality management for the excellence of the Thairath Witthaya School Group under the Office of Basic Education Commission; 2) to examine the model of educational quality management for the excellence of the Thairath Witthaya Schools Group under the Office of Basic Education Commission. The research procedure was divided into 3 phases. The first phase was to study and explore primary data. The second phase focused on developing educational quality management for the excellence model of the Thairath Witthaya Schools Group using the Delphi technique with 17 qualified people in Educational Administration. The third phase involved examining the developed model using a focus group discussion of 12 qualified people. The findings show that the development of the educational quality management model for excellence in the Thairath Wittaya School Group under the Office of the Basic Education Commission consists of inputs such as people, money, management, and materials. It is presented in 7 areas: organizational leadership; strategic planning; process management; human resources focus; the importance of service recipients (e.g., students, stakeholders); measurement, analysis, and knowledge management; and performance result focus. Furthermore, it leads to outputs according to the set goals; therefore, the schools are recognized and accepted. The administrators, teachers, and personnel have improved their performance, and the students have quality according to the set goals. The experts examined the model, and they have approved it for use in educational quality management for the excellence of the Thairath Witthaya school group under the Office of Basic Education Commission.References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แนวทางการประเมินเพื่อรับรองต้นแบบโรงเรียนในฝัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). คู่มือการประเมินสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2541). เทคนิควิธีการวิเคราะห์นโยบาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โชติช่วง พันธุเวส. (2551). แม่แบบการจัดการศึกษาเชิงคุณภาพ SIPPO Model. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและการบริหารการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานพิมพ์ข้าวฟ่าง จำกัด.
นิตยา มั่นชำนาญ. (2554). รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียนในมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
บุญยกุล หัตถกี. (2556). รูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนขนาดเล็ก (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
มูลนิธิไทยรัฐ. (2562). คู่มือการประเมินโรงเรียนไทยรัฐวิทยาดีเด่น. กรุงเทพฯ: มูลนิธิไทยรัฐ.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2552). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ ประจำปี 2552. กรุงเทพฯ: เหรียญทอง เบส อ๊อฟเดอะเนชั่น.
สมหมาย อํ่าดอนกลอย. (2551). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต)สาขาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). แนวทางการเขียนรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจำปีของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). โรงเรียนรางวัลเป็นเลิศของครูและโรงเรียนประเทศฮ่องกง (The Outstanding Teachers and School Awards : LIK. Consultation Document). กรุงเทพฯ:วีทีซี คอมมูนิเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2553). การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2554). คู่มือคำอธิบายตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ:ภาพการพิมพ์.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2549). คู่มือการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
สุจริต คูณธนกุลวงศ์. (2562). การประกันคุณภาพกับรางวัลเดมมิ่ง. สืบค้นจาก http://www.cu-qa.chula.ac.th/Learning Sharing/Evalution030847.pdf
สุนิสา วิทยานุกรณ์. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนเอกชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
The Australina Business Awords. (2019). Australian Excellence Award: AEA. Retrieved from https://serviceexcellenceawards.com.au/category/service-excellence-awards-2019-winners/
National Institute of Standards and Technology. (2019). Education Criteria for Performance Excellence, National Institute of Standards and Technology. Retrieved from http://www.baldrige.nist.gov/PDF_files/2019_Education Criteria.pdf/
The W. Edwards Deming Institute. (2019). National Quality Award, Deming Prize in Japan. Retrieved from http://www.deming.org/
Dettmann, P. E. (2004). Administrators, Faculty, and Staff/ Support Perception of MBNQA
Educational Criteria for Implementation at the University of Wisconsin Stout. Wisconsin: University of Wisconsin Stout.
International Taste institute. (2019). European Quality Award: EQA. Retrieved from http://www.emccglobal.org/lu/accreditation/eqa/
Fulston schools. (2003). Excellence model. Retrieved from http://www.fulstonschools.org/.dept/prodev/leadership/model.shtm/
Gaithersburg, MD. (2008). Baldridge National Quality Program Educational Criteria for Performance Excellence. Gaithersburg, MD: National Institute of Standard and Technology.
Greg, Bounds. (1994). Beyond Total Quailty Mananment: Toward the Emerging Paradigm. New York: McGraw-Hill.
Hughes, Larry W. & Ubben, Gerald C. (1994). The elementay Principal's handbook: a guide to effective action. Boston: Allyn and Bacon.
Peters, T.J. & Waterman, R.H. (1982). Insearch of excellence. New York: Narper & Row.
Sallis, E. & Jones, G. (2002). Knowledge management in education: Enhancing Learning & Education. London: Kogan Page.
Spring. (2015). The Singapore Quality Award: SQA. Retrieved from http://www.spring.gov.sq/portal/product/awards/sqa/