การพัฒนาตัวบ่งชี้และแนวทางการบริหารงานวิชาการในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563 –2572) ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก

The Development of Indicators and Guidelines for Academic Administration in The Next Decade (2020 –2029) of The Primary Schools Under the Office of Eastern Educational Service Area

Authors

  • ชะเอม มีเชาว์
  • ประยูร อิ่มสวาสดิ์
  • ภัคณัฏฐ์ จันทนวรานนท์ สมพงษ์ธรรม

Keywords:

การพัฒนาตัวบ่งชี้, การบริหารงานวิชาการ, ทศวรรษหน้า, Indicator development, Academic administration, Next decade

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติในการประเมินการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา 4) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก การวิจัยมี 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการในทศวรรษหน้า โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ระยะที่ 2 การพัฒนาโมเดลตัวบ่งชี้และเกณฑ์ปกติของการบริหารงานวิชาการในทศวรรษหน้าและระยะที่ 3 การยืนยันโมเดลตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการในทศวรรษหน้าโดยแบบสอบถามจากประชากรผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2,041คน ด้วยการเปิดตารางของ Yamane(1973) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน  340 คนและระยะที่ 4 การศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการในทศวรรษหน้า โดยการจัดสนทนากลุ่มผู้เขี่ยวชาญ จำนวน 17 คนผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก พบ 3 องค์ประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย 2) ความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก พบว่า ความเหมาะสมพอดีตามเกณฑ์ 3) เกณฑ์ปกติในการประเมินการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา พบว่า คะแนนการบริหารงานวิชาการในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563 –2572) มีคะแนนเฉลี่ย (average) =362.17 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) =39.25 ค่าต่ำสุด (Min) =203 ค่าสูงสุด (Max) =415 ค่าความเบ้ (Skewness) =-0.75 และค่าความโด่ง (Kurtosis) =0.564) แนวทางการบริหารงานวิชาการในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563 –2572) ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออก พบ 3 องค์ประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย  The objectives of this research were 1) to develop a model of indicators for academic administration; 2) to examine the consistency of the model of indicators of academic administration; 3) to create normal criteria for evaluating the academic administration; and 4) to propose guidelines for the academic administration of educational institutions under the Office of Elementary Education Service Areas, Eastern Region. The research study was divided into four phases. Phase 1 – the indicators for academic administration in the next decade were developed by interviewing nine experts. Phase 2, the indicators model and norms of academic administration in the next decade were developed. Phase 3, the indicators model of academic administration in the next decade were examined and confirmed by 340 administrators in the academic section through questionnaires. The sample was randomly selected from 2,041 administrators in academic section using Yamane’s (1973). The fourth phase was a study on academic administration guidelines in the next decade. Seventeen experts were taken part in a discussion group. The results showed that 1) the indicator model for the academic administration of educational institutions under the Office of Elementary Education Service Area, Eastern Region, consisted of 3 main components and 12 sub-components. 2) the consistency of the indicator model for the academic administration of educational institutions under the Eastern Primary Education Service Area Office was appropriate in accordance with the criteria. 3) The normal criteria for evaluating the academic administration of educational institutions was found that the mean score () on academic administration in the next decade (2020 -2029) was 362.17, with a standard deviation of 39.25. The minimum score was 203, while the maximum score was 415. The skewness was -0.75, and kurtosis was 0.56. 4) The guidelines for academic administration in the next decade (2020-2029) of educational institutions under the Eastern Primary Education Service Area Office comprised 3 majors components and 12 sub-components.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพ ฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ.

โชติกา จันทะวัน และ ญาณภัทร สีหะมงคล. (2563). การพัฒนาแบบทดสอบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดกาฬสินธุ์. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดผลและประกันคุณภาพการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฐพงษ์ พระลับรักษา. (2559). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เดชณ์ภรัชน์ เนียมสวรรค์. (2558). รูปแบบการบริหารการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(1),49 –58.

นัยนา ฉายวงศ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการนิเทศตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการวิจัยในชั้นเรียน ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปาริชาติ ชมชื่น. (2555). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

เพ็ญประภา ศรีมะโรง. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(1), 141 –150.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนปฏิบัติราชการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579, กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานศึกษาธิการ ภาค 9. (2562). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2562. กลุ่มยุทธศาสตร์การศึกษา เอกสารลำดับที่ 20/2562.

สุชาติ วิริยะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 4(1), 277–288.

Toro Yamame (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd). New York. Harper and Row Publications.

Downloads

Published

2022-09-23