รูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดมเพื่อป้องกันปัญหา การออกกลางคัน โดยนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ

Authors

  • พงษ์ศักดิพล ทาแก้ว

Keywords:

รูปแบบการติดตามนักเรียน, การออกกลางคัน, ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิค เดชอุดมเพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคัน โดยนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 4 ขั้นตอน มีขอบเขตการวิจัยดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาการออกกลางคันของนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม เพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคัน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษา เพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคันของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม โดยการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการติดตามนักเรียน นักศึกษา เพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคันของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม โดยการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ โดยการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษา และเปรียบเทียบจำนวนนักเรียนนักศึกษาที่ออกกลางคันในปีการศึกษา 2560, 2561 และ 2562 ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) รูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดมเพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคัน โดยนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ การดำเนินงานของรูปแบบ การประเมินผล และ 3 เงื่อนไขความสำเร็จ 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษา เพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคันของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม โดยนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ พบว่า ปีการศึกษา 2562 นักเรียนนักศึกษาออกกลางคันคิดเป็นร้อยละ 7.21 และ 4) ผลการประเมินรูปแบบการติดตามนักเรียนนักศึกษาเพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคันของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดมโดยนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และจำนวนนักเรียนนักศึกษาที่ออกกลางคัน ปีการศึกษา 2562 ลดลงเหลือร้อยละ 7.21  The objective of this research is to develop a student tracking model for student dropout prevention of Det Udom Technical College through the Management Information System (MIS). The scope of research is divided into 4 steps as follows: Step 1: Gathering of student dropouts’ data of Det Udom Technical College. Step 2: Developing a student tracking model of Det Udom Technical College for the prevention of student dropouts. Step 3: Experimenting on the student tracking model for student dropout prevention of Det Udom Technical College through the Management Information System. Step 4: Evaluating student tracking model for student dropout prevention of Det Udom Technical College through Management Information System (MIS) by assessing the effectiveness and efficiency of the student tracking model for student dropout prevention of Det Udom Technical College through Management Information System (MIS) and comparing the number of students who dropout in the academic year 2017, 2018 and 2019. The research results are 1. The problem of dropouts among Det Udom Technical College was found that the overall result is at a moderate level. 2. The Student tracking model for dropout prevention of Det Udom Technical College through Management Information System consists of 5 components: the purpose of the model, the operational information system, the implementation and evaluation of the tracking model. 3. The result of the experiment of implementing the student tracking model for student dropout prevention of Det Udom Technical College through the Management Information System was found that the academic year 2019 dropped out students accounted for 7.21 percent. 4. The result of the evaluation of the student tracking model for dropout prevention of Det Udom Technical College through Management Information System was found that the opinions of the stakeholders toward the student tracking model is effective and efficient at the highest level and the result of comparison of the number of dropout students showed a decrease in the academic year 2019 7.21 %.

References

จักรภพ เนวะมาตย์. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนของวิทยาลัยเทคนิคตาก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยาลัยเทคนิคตาก, ตาก.

ชาคริต จองไว. (2559). การใช้โปรแกรมติดตามผู้เรียนเพื่อลดจำนวนการออกกลางคันของนักศึกษา. การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

นิพนธ์ แก้วเกิด. (2555). การพัฒนาระบบการดูแลสนับสนุนนักเรียนเพื่อลดจำนวนการออกกลางคันของนักเรียนอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.

มธุกันตา แซ่ลิ้ม. (2559). การบริหารงานฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษาที่ส่งผลต่อสาเหตุการออกกลางคันของนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดนครปฐม. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม. (2560). รายงานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา. อุบลฯ: งานทะเบียน.

วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม. (2560). รายงานการประชุมผู้ปกครอง. อุบลฯ: งานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา.

วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม. (2560). คู่มือนักเรียนนักศึกษา. อุบลฯ: งานทะเบียน.

วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม. (2561). รายงานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา. อุบลฯ: งานทะเบียน.

วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม. (2562). รายงานข้อมูลนักเรียนนักศึกษา. อุบลฯ: งานทะเบียน.

สมาน อัศวภูมิ. (2550). การใช้วิจัยพัฒนารูปแบบในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2(2): 10.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). เอกสารประกอบการปฏิบัติงานโครงการลดปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียนอาชีวศึกษา ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา.

Downloads

Published

2022-10-18