การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกประกอบกับชุดฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • เยาวลักษณ์ ภวะโชติ

Keywords:

การเรียนรู้แบบเชิงรุก, ชุดฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความคิดสร้างสรรค์, ดัชนีประสิทธิผล, เจตคติ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและศึกษาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเชิงรุก ประกอบกับชุดฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ความคิดสร้างสรรค์ และเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเชิงรุก ประกอบกับชุดฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดพิจิตร จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกประกอบกับชุดฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบความสามารถในการสื่อสาร แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สูตร E1/E2 สูตร E.I และการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ The Wilcoxon matched – pairs signed – ranks test ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกประกอบกับชุดฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.96/77.14 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6678 หรือมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 66.78 และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความคิดสร้างสรรค์และมีเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  The purposes of this research were to study the effectiveness and to study the effectiveness index of active learning activities combined with the English communication skills training packages and to compare ability to communicate in English, creative thinking and attitudes towards learning English of Prathom Suksa 5 students between before and after studying with active learning activities combined with English communication skills training packages. The sample group included 14 of Prathom Suksa 5 students at an elementary school in Phichit Province. The research instruments were the active learning activities plans, the English communication skills training packages, the attitude test towards learning English, and the creativity test. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and hypothesis testing using the Wilcoxon matched – pairs signed – ranks test statistics. The results of the research showed that the active learning activity plan combined with the English communication skills training packages had the efficiency equal to 79.96 / 77.14 which was higher than the specified criteria; the effectiveness index was 0.6678 or 66.78% of learning progress; and students’ ability to communicate in English, creative thinking and attitude towards learning English after studying were higher than before studying at the level of .01 significance.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กองการศึกษา เทศบาลตะพานหิน. (2560). รายงานการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดเทศบาลตะพานหิน ปีการศึกษา 2560. พิจิตร: เทศบาลตะพานหิน.

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม, กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.

เกื้อกมล นิยม. (2550). มากกว่าศิลปะ พิมพ์ภาพ ภาพพิมพ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สานอักษร.

ประเสริฐ สำเภารอด. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมเรื่องระบบนิเวศในโรงเรียน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเซนต์ดอมินิก. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

พรรณิภา กิจเอก. (2550). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรูปแบบกระตือรือร้นต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาป์ที่ 6 จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์เกษม, กรุงเทพฯ.

พรสวรรค์ สีป้อ. (2550). สุดยอดวิธีสอนภาษาอังกฤษนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ฟักรียะห์ อาบู. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้หนังสืออ่านประกอบ ชุดสระพาเพลิน. ปัตตานี: โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกาหยี.

ลัดดา หวังภาษิต. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพ.

หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). หลักสูตรฝึกอบรมการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยกระบวนการ Coaching & Mentoring. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ศิริพร มโนพิเชฐวัฒนา. (2547). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น เรื่อง ร่างกายมนุษย์. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2558). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). สืบค้นจาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETP6_2558.pdf.

สมพร ทับอาสา. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ 4 โดยใช้ Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบัวใหญ่. นครราชสีมา: โรงเรียนบัวใหญ่.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต1. (2560). รายงานผลคุณภาพการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต1. พิจิตร: ฝ่ายวิชาการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). แนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยและส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทาง การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. เอกสารประกอบการประชุมโครงการวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน, ณ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อติกานต์ ทองมาก. (2552). การใช้วิธีการสอนภาษาอังกฤษแบบโครงงานเพี่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษและทักษะการคิดของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านควนสวรรค์ จังหวัดตรัง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

Best Johnson, W. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice – Hall.

Claire, E. & Haynes, J. (1994). Classroom Teacher’s ESL Survival Kit 1. New Jersey: Prentice – Hall.

Peko A. & Varga R. (2014). Active Learning in Classrooms. Život i škola. 31(15): 59-75.

Wanner Thomas. (2015). Enhancing Student Engagement and Active Learning through Just-in-Time Teaching and the use of PowerPoint. International Journal of Teaching and Learning in Higher Education. 27(1), 154-163.

Downloads

Published

2022-10-18